Interesting article


บทความเรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
หลักการและความสำคัญ
    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและ ยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ จัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
      อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่ง เสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและ ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่ง เสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
      ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยา ศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยา ศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง ขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบ ตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่ง ต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการ ออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและ ศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธี การที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป
เอกสารอ้างอิง  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546


แหล่งที่มา: เอกสารอ้างอิง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546

 การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)

 การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝน กระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์

การทดลองทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร?

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้ กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถ ฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรม ต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึง พัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้
  • ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันเข้า สัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดนั้นๆ เช่น
    • การให้เด็กสังเกตสีของผลไม้และบอกครูว่ามีสีอะไรบ้าง
    • การให้เด็กฟังเสียงร้องของนกชนิดต่างๆแล้วบอกว่าเป็นเสียงนกอะไรบ้าง
    • หรือการให้เด็กชิมรสชาติของน้ำผลไม้และบอกว่าเป็นรสชาติของผลไม้ใดบ้าง เป็นต้น
  • ทักษะการวัด (Measuring) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้องโดยมี หน่วยกำกับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เช่น การวัดความยาวของโต๊ะเรียน การวัดความสูงของเก้าอี้ การวัดความหนาของหนังสือ สำหรับเด็กปฐมวัยหน่วยการวัดเด็กอาจจะเลือกเอง เช่น เด็กอาจจะวัดความยาวของโต๊ะโดยใช้เชือกผูกรองเท้าแล้วบอกว่า โต๊ะเรียนตัวนี้ยาวเท่ากับเชือกผูกรองเท้า 2 เส้น เป็นต้น 
  • ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์ ต่างๆออกมาเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความต่าง และความ สัมพันธ์ เช่น การให้เด็กจำแนกผักด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น ใช้สีเป็นเกณฑ์ ใช้รูปร่างเป็นเกณฑ์ หรือใช้ผิวสัมผัสเป็นเกณฑ์ เป็นต้น 
  • ทักษะการสื่อสาร (Communicating) หมายถึง ความสามารถในการแสดงผลข้อมูลจากการสังเกต การทดลอง นำมาจำ แนก เรียงลำดับ และนำเสนอด้วยการเขียน แผนภาพ แผนผัง แผนที่ เช่น การให้เด็กปฐมวัยสำรวจจำนวนผักชนิดต่างๆที่อยู่ในตะกร้า และเด็กอาจจะสื่อสารด้วยการนำเสนอออกมาเป็นภาพวาดผักที่แสดงจำนวนผักแต่ละ ชนิด เด็กอาจจะวาดรูปมะเขือ 5 ผล แตงกวา 7 ผล ผักชี 4 ต้น ลักษณะของการนำเสนอจะขึ้นอยู่กับระดับความสามารถและความต้องการของเด็ก ทักษะการสื่อสารและวิธีการนำเสนอจะมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับอายุและสติ ปัญญาของเด็ก 
  • ทักษะการลงความเห็น (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนำเสนออธิบายข้อมูลที่มีอยู่ซึ่งได้มาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสรุปลงความเห็นเกี่ยวกับ ข้อมูลนั้นๆ เช่น การจัดกิจ กรรมให้เด็กสำรวจพืชน้ำ จากการที่เด็กได้ไปสังเกตลักษณะของพืชน้ำ แล้วสรุปลงความเห็นว่า พืชน้ำมีลักษณะต้นกลวง นิ่ม มีท่ออยู่ในลำต้น มีรากเป็นกระจุก เช่น ผักตบชวา ผักกะเฉด ผักบุ้ง จอก แหน เป็นต้น 
  • ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง ความสามารถในการทำนายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยการสังเกตปรากฏการณ์ซ้ำๆ และนำความรู้ที่เป็นหลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเรื่องนั้นๆมาช่วยในการทำนายภายในขอบเขตของข้อมูล (Interpolating) และภายนอกขอบเขตของข้อมูล (Extrapolating) เช่น จากการที่เด็กสังเกตว่าก่อนฝนตกจะมีเมฆมากและท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดและเสียงฟ้าร้อง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่เด็กรับรู้มาก่อน ดังนั้น เมื่อมีปรากฏการณ์ดังกล่าวร่วมกันในครั้งต่อมา เด็กจะพยากรณ์ได้ว่าถ้ามีลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อมาคือฝนตก เป็นต้น สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อื่นๆที่มีความยากและซับซ้อนจะนำไปสอนใน ระดับที่สูงขึ้น เช่น ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการคิดคำนวณ ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร เป็นต้น
การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดให้กับเด็ก ปฐมวัยในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม เพื่อมุ่งพัฒนาให้เด็กได้เรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และเพื่อสร้างความคิด รวบยอดในสิ่งที่ได้เรียนรู้ ลักษณะของการจัดกิจกรรมเป็นกระบวนการและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจน ครูเป็นผู้ตระเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการทดลองไว้อย่างพร้อมเพรียง ก่อนที่เด็กจะลงมือปฏิบัติกิจกรรม ครูอาจจะอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมก่อน แล้วให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ขณะเด็กปฏิบัติกิจกรรม ครูเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์และช่วยเหลือเด็กตามความเหมาะสม และเมื่อเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม ครูให้เด็กออกมานำเสนอหรืออภิปรายสิ่งที่ได้จากการทดลอง ทั้งนี้เพื่อให้เด็กสรุปสิ่งที่ค้น พบด้วยตนเองทุกครั้ง และถือว่าการเรียนรู้โดยการใช้กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นการเรียน รู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์ กลาง (Child – centered) และสะท้อนการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ (Constructivism) โดยทั่วไปแล้วการจัดกิจ กรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์จะเป็นกิจกรรมที่ครูปฐมวัยจัดให้เด็กทำการทดลอง สัปดาห์ละ 1 ครั้งตามหน่วยการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้หน่วยน้ำ ครูจะให้เด็กได้เรียนรู้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การสนทนาอภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำ การสาธิตวิธีการกรองน้ำด้วยเครื่องกรองน้ำ การทดลองกรองน้ำด้วยวิธีการที่เด็กเลือก การไปศึกษานอกสถานที่โดยพาเด็กไปดูโรงงานผลิตน้ำดื่ม เป็นต้น

การทดลองทางวิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างมีระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำเอาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่ง กระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กรวมถึงสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ดังนี้
  • ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ 
  • ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่าง แท้จริง เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น 
  • ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เจตคติต่อวิทยา ศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ 
  • ช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และการสืบค้นของตัวเด็ก
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นตลอดจนการใช้คำถาม “อะไร” “ทำไม” และ “อย่างไร”
  • ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล อย่างมีระบบตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น
  • ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการแก้ปัญหา
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
  • เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา
  • ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนกล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น
  • ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง
  • ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น
  • ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักการเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักรอคอย แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนการช่วยเหลือทำงานร่วมกัน
  • ส่งเสริมให้เด็กลดความกลัวต่อสิ่งต่างๆ เช่น กลัวความมืด กลัวเสียงฟ้าร้อง เป็นต้น
  • ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายในการทำงาน อีกทั้งทักษะในการใช้เครื่องมือในการทำงานต่างๆอีกด้วย

ครูจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอย่างไร?

การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถบูรณาการกิจกรรมทดลองไว้ในกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็ก ปฐมวัย เช่น เสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมสร้างสรรค์ เนื้อหาที่นำมาทด ลองจะยึดหน่วยหรือหัวเรื่องที่เด็กเรียนรู้เป็นหลัก เช่น
  • การเรียนรู้ หน่วยน้ำ ครูจัดกิจกรรมการทดลองวิธีการกรองน้ำให้สะอาด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีการทำให้น้ำสะอาด จากการทดลองวิธีการกรองน้ำ ครูอาจจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้เลือกและค้นหาวิธีการที่เหมาะ สมในการกรองน้ำ
  • ส่วนการเรียนรู้ หน่วยผลไม้ อาจจัดกิจกรรมทดลองเพื่อพิสูจน์เกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ว่า ผลไม้แต่ละชนิดมีส่วน ประกอบเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กทดลองเป็นกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการพิสูจน์ของแต่ละกลุ่มได้ เช่น เงาะจะมีส่วนประกอบคือ เปลือก เนื้อ และมีเมล็ดเดียว สับปะรดประกอบด้วยเปลือก และเนื้อ ไม่มีเมล็ดแต่มีแกนอยู่ส่วนตรงกลาง แตงโมประกอบด้วยเปลือก เนื้อสีแดง และมีเมล็ดหลายเมล็ด
  • สำหรับการบูรณาการการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมสร้างสรรค์สามารถจัดให้กับเด็กได้ เช่น การเรียนรู้ หน่วยดอก ไม้ สามารถจัดกิจกรรมการทดลองสีจากดอกไม้ในการสร้างสรรค์งานทางศิลปะได้ เช่น ใช้สีแดงจากดอกกุหลาบ สีเหลืองจากดอกดาวเรือง สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เป็นต้น นอกจากครูจะบูรณาการกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไว้ในกิจ กรรมประจำวันแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไว้เป็นการเฉพาะและนำไปจัดเพื่อ เป็นกิจกรรมเสริมในช่วงเวลาอื่นๆได้ เช่น จัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ จัดในช่วงตอนพักกลางวันหรือช่วงก่อนเด็กกลับบ้าน ฯลฯ

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะจัดกิจกรรมให้ลูกทดลองทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?

พ่อแม่หรือผู้ปกครองเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้ แก่เด็ก เพราะการเรียนรู้ครั้งแรกของเด็กเกิดที่บ้าน จากการที่เด็กมีความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้ที่เป็นบิดามารดา ความสัมพันธ์และพฤติ กรรมดังกล่าวจะมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก จากผลงานการวิจัยของชุลีพร พิศุทธิ์ศุภฤทธิ์ ที่ศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตสูงขึ้นหลังจากที่ บิดามารดา ชวนคุย ชวนร้อง ชวนเล่น สอดคล้องกับงานวิจัยของเสาวคนธ์ สาเอี่ยม ที่ศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนกสูงขึ้นหลังจากที่พ่อ แม่จัดกิจกรรมการเล่นสร้างสรรค์ให้กับลูก ดังนั้น บทบาทของบิดามารดามีความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่าง ๆ รวมทั้งทักษะพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ สำหรับแนวทางของผู้ปกครองในการที่จะส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยา ศาสตร์ให้กับลูกที่บ้านควรมีขั้นตอนดังนี้
  • ขั้นที่ 1 พ่อแม่ควรสังเกตความสนใจของลูกว่า ลูกมีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวในเรื่องใดบ้าง ซึ่งสามารถพบได้จากการคำพูด การสนทนาในชีวิตประจำวันของลูกกับพ่อแม่
  • ขั้นที่ 2 สร้างเสริมประสบการณ์ในเรื่องที่ลูกสนใจ โดยบูรณาการทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ เช่น ถ้าเด็กสนใจเรื่องการเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกไว้ที่บ้าน เด็กอาจจะถามว่าทำไมต้นไม้ที่ปลูกในกระถางกับต้นไม้ที่ปลูกลงดินมีการเจริญ เติบโตที่แตกต่างกัน พ่อแม่ควรใช้การสนทนาและใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เด็กอาจจะสืบค้นโดยการถามบุคคลต่างๆ หรืออาจจะไปสังเกตลักษณะของดินในกระถางและดินที่ใช้ปลูกต้นไม้ตามธรรมชาติ ว่ามีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้พ่อแม่อาจจะช่วยกระตุ้นให้เด็กคิดว่าการเจริญเติบโตของต้นไม้ต่าง ๆ อาจมาจากการดูและรักษาและบำรุง เช่น การรดน้ำต้นไม้ การให้ปุ๋ย ซึ่งในขั้นนี้พ่อแม่ควรจัดประสบการณ์หรือสิ่งแวด ล้อมให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่กว้างขวางขึ้น
  • ขั้นที่ 3 พ่อแม่ควรสรุปความรู้หรือความคิดรวบยอดหลังจากที่เด็กได้ทดลองหรือสืบค้น ข้อมูลเพียงพอแล้ว เช่น การอธิบายให้ลูกเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชจากองค์ประกอบของการ ดูแลที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การอธิบายหลักการต่างๆควรใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของเด็กด้วย การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กเรียนรู้ที่บ้านนั้น พ่อแม่ควรนำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวันมาสอนเด็ก เช่น
    • การสอนการทดลองเรื่องการระเหยของน้ำและการเกิดฝนจากการปรุงอาหาร
    • การทดลองเกี่ยวกับพลังงานความร้อนจากการรีดผ้า การตากผ้า
    • การทดลองเรื่องรุ้งกินน้ำจากการซักผ้า
    • การทดลองการจม การลอยจากการถนอมอาหารด้วยการทำไข่เค็ม
    • การทดลองเรื่องอากาศต้องการที่อยู่จากการเป่าลูกโป่ง เพื่อใช้ตกแต่งสถานที่ในงานวันเกิดหรือวันปีใหม่ ฯลฯ
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่พ่อแม่จัดให้กับลูกที่บ้านควรเป็น กิจกรรมบูรณาการด้วยการใช้สถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการเรียนรู้ให้กับเด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้พ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรรู้จักสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เพื่อจะได้ตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้

เกร็ดความรู้เพื่อครู

ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กโดยเฉพาะการจัดกิจกรรม การทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ บทบาทสำคัญของครูปฐมวัยคือ การจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กอย่างน้อย 1 การทดลอง ต่อ 1 หน่วยการเรียนรู้ และจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อการทดลองให้พร้อม อีกทั้งยังต้องจัดมุมประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กคิดและทดลองตามหัวเรื่อง ที่เรียน นอกจากนี้ การใช้คำถามของครูเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน

 ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์ ระดับ: ก่อนอนุบาล อนุบาล หมวด: เกี่ยวกับอนุบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น