วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย
การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์พร้อมวิธีการสอนเด็กปฐมวัย
ดิฉันนำเสนอการทดลอง เรื่อง ขวดเป่าลูกโป่ง

วัสดุอุปกรณ์ 
1. ขวดแก้วหรือขวดพลาสติก
2. ลูกโป่ง
3. เบกกิ้งโซดา 5 ช้อนโต๊ะ ( ผงฟู )
4. น้ำส้มสายชู
วิธีการทดลอง
1. ให้เด็กๆลองเป่าลูกโป่งให้ยืดออกก่อน
2. ให้เด็กใส่เบกกิ้งโซดา( ผงฟู )ลงในขวดแก้ว ประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ
3. ใส่น้ำส้มสายชูลงในขวดแก้ว
4. จากนั้นครอบลูกโป่งลงบนปากขวด

วิธีการสอน (การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย)
1. เด็กๆ ค่ะ วันนี้ครูมี ลูกโป่ง ขวดแก้ว ผงฟู น้ำส้มสายชู เด็กๆคิดว่าครูจะนำมาทำอะไรเอ่ย (ให้เด็กๆคิดและช่วยกันตอบ)
2. ครูแจกลูกโป่งให้เด็กคนละ 1 ลูก เด็กๆลองเป่าลูกโป่งซิค่ะ
3. ขวดใบที่1 เด็กๆ เห็นขวดแก้วไหมค่ะ ถ้าครูลองเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด ลูกโป่งจะพองขึ้นเหมือนกับที่เด็กๆเป่าลูกโป่งไหม (ให้เด็กสังเกต แล้วบันทึกพร้อมวาดภาพ)
4. ขวดใบที่ 2 เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่ผงฟูและน้ำส้มสายชูลงไปในขวด จากนั้นครูเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
5. เริ่มการทดลอง ครูใส่ผงฟูและน้ำส้มสายชูลงไปในขวด จากนั้นครูเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด (ให้เด็กๆสังเกตดูว่าลูกโป่งเริ่มขยายใหญ่ขึ้น พร้อมบันทึกและวาดภาพ)
6. ครูถามเด็กๆ เด็กๆคิดว่าลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้นเพราะอะไร (เด็กตอบว่าเพราะในขวดมีลมทำให้ลูกโป่งใหญ่ขึ้น เด็กเกิดการเชื่อมโยงจากสิ่งที่เด็กได้ลงมือกระทำในขั้นต้น)
แนวคิด
เมื่อเบกกิ้งโซดาทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ ก๊าซจึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

 Week 16
Wednesday  25  September  2013
การเรียนการสอน Teaching
อาจารย์จินตนาแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับการทำ Blog โดยให้นักศึกษาสรุปงานลงใน Blog ในหัวข้อดังต่อไปนี้
  - สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  - สรุปบทความ
  - สรุปวีดีโอในโทรทัศน์ครู โดยให้นักศึกษาเลือกมา 1 เรื่องพร้อมสรุปองค์ความรู้
  - อาจารย์ตฤณ ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากที่นักศึกษาได้เรียนมา

องค์ความรู้ที่ไดรับจากการเรียน

สรุปองค์ความรู้
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองจากความต้องการ ความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดหาคำตอบ ด้วยการลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยผ่านการเล่น
 




สรุปบทความ เรื่องการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ จัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
     หลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
      ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยา ศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยา ศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง ขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบ ตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่ง ต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการ ออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและ ศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธี การที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 
 การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)
 การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝน กระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์  
เกร็ดความรู้สำหรับครู 
ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กโดยเฉพาะการจัดกิจกรรม การทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ บทบาทสำคัญของครูปฐมวัยคือ การจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กอย่างน้อย 1 การทดลอง ต่อ 1 หน่วยการเรียนรู้ และจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อการทดลองให้พร้อม อีกทั้งยังต้องจัดมุมประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กคิดและทดลองตามหัวเรื่อง ที่เรียน นอกจากนี้ การใช้คำถามของครูเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน







 สรุปเรื่องที่อ่านจากโทรทัศน์ครู
เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส 

องค์ความรู้ที่ได้
- เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างความพร้อมพื้นฐาน ให้กับเด็กในด้านสังคม ร่างกาย สติปัญญา
- กิจกรรมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรมประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป้นการกระตุ้น ท้าทายความคิด ฝึกแก้ปัยหาและฝึกจินตนาการของมนุษย์ ดังนั้นการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้เด็กฉลาดได้
- ครูใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน กระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเอง และบุคคลอื่น และยังส่งผลต่อการพัฒนาทางสมอง และระบบประสาท
- กิจกรรมพัมนาด้านสติปัยญา เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- จัดการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ค่อยๆ ต่อเติมแนวคิด ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้เข้าใจและเกิดการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้อาจเกิดขึ้นโดยตระหนักในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ และไม่ได้ตระหนักว่าเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้อาจไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่ต้องใช้เวลาที่ค่อยๆเกิดขึ้น
- การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง5 การที่ให้เด็กได้สำรวจ และจัดกระทำกับวัตถุ โดยตรง ทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุแล้ว เด็กจะนำวัตถุต่างๆมาเกี่ยวข้องกัน และเด็กจะได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ ครูผู้สอนมีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
- เด็กได้ลงมือปฎิบัติใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ข้อมูลทั้งในรูปของภาพ เสียง สัมผัส ได้ยิน รับกลิ่นเป็นต้น
 การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
 - เตรียมการสอนและวางแผนการสอนให้รอบคอบ
- สภาพแวดล้อมกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
- สื่อวัสดุอุปกรณ์ สอดคล้อง กับวัตถุ ประสงค์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
 - เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของสมอง ของเด็กโดยการจัดกิจกรรมฝึกการเรียนรู้ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
- การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง5 สมองของเด็กเกิดการพัฒนา เด็กได้รับสิ่งแปลดใหม่ ข้อมูลใหม่ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้โดยไม่รู้ตัวสิ่ง เหล่านี้จะช่วยพัฒนาสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสมองสามารถสั่งการออกมา ได้ อย่างฉับไว คิดได้เร็วเรียนรุ้สิ่งต่างๆได้เร็ว
- จัดประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้เรียนรู้ตามความถนัดและสนใจ เรียนรู้ปฎิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกับวัตถุ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ทดลองสร้างสิ่งใหม่ๆ ได้เรียนรู้ศักยภาพ เกิดการเรียนรู้
 ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจ ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน กำหนดแผนงาน การจัดกิจกรรมการเรียนให้เหมาะสม
- ครูผู้สอนต้องรอบรู้ เชื่อมโยงความรู้ เปรียบเทียบกับสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว กับความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
- ครูผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นผู้เรียนให้สนใจ ใฝ่รู้ตลอดเวลา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่นการใช้คำถาม การเสริมแรง การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
- ครูผู้สอนสามารถสื่อสาร สื่อความหมายได้ถูกต้อง ชัดเจน




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556


สรุปงานวิจัย
เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์ โดย ศศิพรรณ สำแดงเดช
พ.ศ. 2553
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ประชากรและตัวอย่าง
 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน
กลุ่มตัวอย่าง
 เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
ระยะเวลา
 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาทีในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 วิธีการดำเนินการทดลอง
 1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใน
ขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
 2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที
ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
 3. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
 4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
 ระดับความสามารถทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด
กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
เด็กปฐมวัยมีระดับความสามารถทางทักษะวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน แต่หลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานพบว่าเด็กปฐมวัยมีความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก การสื่อสาร อยู่ในระดับดี และด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก
การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยรวมพบว่า หลังการทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือด้านการสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่า จากก่อนการทดลอง แสดงว่าการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้สูงขึ้นได้
 ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
1. ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน กับเด็กจำนวนมาก ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรม เช่น ถ้าใช้ภาพประกอบการเล่านิทาน ภาพจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะสามารถมองเห็นได้ทุกคน กิจกรรมการทดลองสื่อต้องมีเพียงพอสำหรับเด็กนอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมกับเด็กจำนวนมาก โอกาสที่เด็กทุกคนจะได้ออกมาปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นไปได้ยาก จึงควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับจำนวนของเด็กด้วย
2. นิทาน 1 เรื่อง สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะวิทยาศาสตร์ที่ต้องการได้หลายทักษะซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนในการที่จะดัดแปลงนิทานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
3. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมต้องมีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก ครูต้องคำนึงถึงความสมดุลของช่วงเวลาที่ใช้ในการเล่านิทานและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลองด้วย เช่น ในเด็กอายุ 5 – 6 ปี เวลาในการจัดกิจกรรมไม่ควรเกิน 15 นาทีถ้าใช้เวลาในการเล่านิทานนาน เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองจะต้องสั้นลง เป็นต้น
4. การกำหนดคำถามในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง นอกจากจะมุ่งให้เด็กเกิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ การถามคำถามจะต้องไม่ทำลายอรรถรสของการฟังนิทาน ครูอาจตั้งคำถามไว้หลายคำถาม แต่อาจไม่ได้ใช้ทุกคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและปฏิกิริยาของเด็กในขณะฟังนิทาน


 




Week 15
Wednesday  18  September  2013
การเรียนการสอน Teaching
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำอุปกรณ์ในการทำไข่ตุ๋นมาทำไข่ตุ่นพร้อมสอนเด็กๆในการทำไข่ตุ่น
 
 
แนะนำอุปกรณ์และสาธิตวิธีการหั่นแครอท

 
แครอทหั่นเต๋าและปูอัดหั่นชิ้นเล็กๆ
 
 นำไข่ไปนึ่ง

ไข่ตุ๋นที่สุกแล้วพร้อมรับประทาน

การทำไข่ตุ๋นทรงเครื่อง




วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย
Sunday  15 September  2013
การเรียนการสอน Teaching
อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานในหัวข้อการทำอาหาร โดยแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มของดิฉันเลือกหัวข้อการทำไข่ตุ๋น
การสอนเด็กทำอาหาร
 




จากนั้นอาจารย์สรุปองค์ความรู้ พร้อมให้นักศึกษาอธิปรายเกี่ยวกับการทำอาหาร โดยในสัปดาห์ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อยเพื่อทำไข่ตุ๋น