วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย
การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์พร้อมวิธีการสอนเด็กปฐมวัย
ดิฉันนำเสนอการทดลอง เรื่อง ขวดเป่าลูกโป่ง

วัสดุอุปกรณ์ 
1. ขวดแก้วหรือขวดพลาสติก
2. ลูกโป่ง
3. เบกกิ้งโซดา 5 ช้อนโต๊ะ ( ผงฟู )
4. น้ำส้มสายชู
วิธีการทดลอง
1. ให้เด็กๆลองเป่าลูกโป่งให้ยืดออกก่อน
2. ให้เด็กใส่เบกกิ้งโซดา( ผงฟู )ลงในขวดแก้ว ประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ
3. ใส่น้ำส้มสายชูลงในขวดแก้ว
4. จากนั้นครอบลูกโป่งลงบนปากขวด

วิธีการสอน (การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย)
1. เด็กๆ ค่ะ วันนี้ครูมี ลูกโป่ง ขวดแก้ว ผงฟู น้ำส้มสายชู เด็กๆคิดว่าครูจะนำมาทำอะไรเอ่ย (ให้เด็กๆคิดและช่วยกันตอบ)
2. ครูแจกลูกโป่งให้เด็กคนละ 1 ลูก เด็กๆลองเป่าลูกโป่งซิค่ะ
3. ขวดใบที่1 เด็กๆ เห็นขวดแก้วไหมค่ะ ถ้าครูลองเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด ลูกโป่งจะพองขึ้นเหมือนกับที่เด็กๆเป่าลูกโป่งไหม (ให้เด็กสังเกต แล้วบันทึกพร้อมวาดภาพ)
4. ขวดใบที่ 2 เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่ผงฟูและน้ำส้มสายชูลงไปในขวด จากนั้นครูเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
5. เริ่มการทดลอง ครูใส่ผงฟูและน้ำส้มสายชูลงไปในขวด จากนั้นครูเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด (ให้เด็กๆสังเกตดูว่าลูกโป่งเริ่มขยายใหญ่ขึ้น พร้อมบันทึกและวาดภาพ)
6. ครูถามเด็กๆ เด็กๆคิดว่าลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้นเพราะอะไร (เด็กตอบว่าเพราะในขวดมีลมทำให้ลูกโป่งใหญ่ขึ้น เด็กเกิดการเชื่อมโยงจากสิ่งที่เด็กได้ลงมือกระทำในขั้นต้น)
แนวคิด
เมื่อเบกกิ้งโซดาทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ ก๊าซจึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้

วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

 Week 16
Wednesday  25  September  2013
การเรียนการสอน Teaching
อาจารย์จินตนาแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวกับการทำ Blog โดยให้นักศึกษาสรุปงานลงใน Blog ในหัวข้อดังต่อไปนี้
  - สรุปงานวิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  - สรุปบทความ
  - สรุปวีดีโอในโทรทัศน์ครู โดยให้นักศึกษาเลือกมา 1 เรื่องพร้อมสรุปองค์ความรู้
  - อาจารย์ตฤณ ให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากที่นักศึกษาได้เรียนมา

องค์ความรู้ที่ไดรับจากการเรียน

สรุปองค์ความรู้
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ การจัดกิจกรรมให้เด็กได้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองจากความต้องการ ความสนใจ ความอยากรู้อยากเห็น โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์และใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดหาคำตอบ ด้วยการลงมือปฏิบัติกิจกรรมโดยผ่านการเล่น
 




สรุปบทความ เรื่องการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ จัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
     หลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
      ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยา ศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยา ศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง ขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบ ตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่ง ต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการ ออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและ ศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธี การที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 
 การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments)
 การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝน กระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์  
เกร็ดความรู้สำหรับครู 
ครูมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กโดยเฉพาะการจัดกิจกรรม การทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์ บทบาทสำคัญของครูปฐมวัยคือ การจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กอย่างน้อย 1 การทดลอง ต่อ 1 หน่วยการเรียนรู้ และจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้เพื่อการทดลองให้พร้อม อีกทั้งยังต้องจัดมุมประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กคิดและทดลองตามหัวเรื่อง ที่เรียน นอกจากนี้ การใช้คำถามของครูเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางวิทยาศาสตร์ได้เช่นเดียวกัน







 สรุปเรื่องที่อ่านจากโทรทัศน์ครู
เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส 

องค์ความรู้ที่ได้
- เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างความพร้อมพื้นฐาน ให้กับเด็กในด้านสังคม ร่างกาย สติปัญญา
- กิจกรรมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรมประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป้นการกระตุ้น ท้าทายความคิด ฝึกแก้ปัยหาและฝึกจินตนาการของมนุษย์ ดังนั้นการฝึกประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้เด็กฉลาดได้
- ครูใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน กระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเอง และบุคคลอื่น และยังส่งผลต่อการพัฒนาทางสมอง และระบบประสาท
- กิจกรรมพัมนาด้านสติปัยญา เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
- จัดการเรียนรู้ที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ค่อยๆ ต่อเติมแนวคิด ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้เข้าใจและเกิดการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้อาจเกิดขึ้นโดยตระหนักในสิ่งที่กำลังเรียนรู้ และไม่ได้ตระหนักว่าเกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้อาจไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่ต้องใช้เวลาที่ค่อยๆเกิดขึ้น
- การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง5 การที่ให้เด็กได้สำรวจ และจัดกระทำกับวัตถุ โดยตรง ทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุแล้ว เด็กจะนำวัตถุต่างๆมาเกี่ยวข้องกัน และเด็กจะได้เรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ ครูผู้สอนมีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยตนเอง
- เด็กได้ลงมือปฎิบัติใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ข้อมูลทั้งในรูปของภาพ เสียง สัมผัส ได้ยิน รับกลิ่นเป็นต้น
 การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
 - เตรียมการสอนและวางแผนการสอนให้รอบคอบ
- สภาพแวดล้อมกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
- สื่อวัสดุอุปกรณ์ สอดคล้อง กับวัตถุ ประสงค์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
 - เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของสมอง ของเด็กโดยการจัดกิจกรรมฝึกการเรียนรู้ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
- การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง5 สมองของเด็กเกิดการพัฒนา เด็กได้รับสิ่งแปลดใหม่ ข้อมูลใหม่ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้โดยไม่รู้ตัวสิ่ง เหล่านี้จะช่วยพัฒนาสมองให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสมองสามารถสั่งการออกมา ได้ อย่างฉับไว คิดได้เร็วเรียนรุ้สิ่งต่างๆได้เร็ว
- จัดประสบการณ์ที่หลากหลาย ได้เรียนรู้ตามความถนัดและสนใจ เรียนรู้ปฎิบัติจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสกับวัตถุ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น ทดลองสร้างสิ่งใหม่ๆ ได้เรียนรู้ศักยภาพ เกิดการเรียนรู้
 ครูผู้สอนต้องทำความเข้าใจ ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน กำหนดแผนงาน การจัดกิจกรรมการเรียนให้เหมาะสม
- ครูผู้สอนต้องรอบรู้ เชื่อมโยงความรู้ เปรียบเทียบกับสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว กับความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
- ครูผู้สอนมีเทคนิคในการกระตุ้นผู้เรียนให้สนใจ ใฝ่รู้ตลอดเวลา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่นการใช้คำถาม การเสริมแรง การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
- ครูผู้สอนสามารถสื่อสาร สื่อความหมายได้ถูกต้อง ชัดเจน




วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556


สรุปงานวิจัย
เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์ โดย ศศิพรรณ สำแดงเดช
พ.ศ. 2553
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ประชากรและตัวอย่าง
 กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน
กลุ่มตัวอย่าง
 เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
ระยะเวลา
 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาทีในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 วิธีการดำเนินการทดลอง
 1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใน
ขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
 2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที
ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
 3. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
 4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
 ระดับความสามารถทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด
กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
เด็กปฐมวัยมีระดับความสามารถทางทักษะวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน แต่หลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานพบว่าเด็กปฐมวัยมีความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก การสื่อสาร อยู่ในระดับดี และด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก
การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยรวมพบว่า หลังการทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือด้านการสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่า จากก่อนการทดลอง แสดงว่าการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้สูงขึ้นได้
 ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
1. ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน กับเด็กจำนวนมาก ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรม เช่น ถ้าใช้ภาพประกอบการเล่านิทาน ภาพจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะสามารถมองเห็นได้ทุกคน กิจกรรมการทดลองสื่อต้องมีเพียงพอสำหรับเด็กนอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมกับเด็กจำนวนมาก โอกาสที่เด็กทุกคนจะได้ออกมาปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นไปได้ยาก จึงควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับจำนวนของเด็กด้วย
2. นิทาน 1 เรื่อง สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะวิทยาศาสตร์ที่ต้องการได้หลายทักษะซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนในการที่จะดัดแปลงนิทานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
3. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมต้องมีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก ครูต้องคำนึงถึงความสมดุลของช่วงเวลาที่ใช้ในการเล่านิทานและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลองด้วย เช่น ในเด็กอายุ 5 – 6 ปี เวลาในการจัดกิจกรรมไม่ควรเกิน 15 นาทีถ้าใช้เวลาในการเล่านิทานนาน เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองจะต้องสั้นลง เป็นต้น
4. การกำหนดคำถามในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง นอกจากจะมุ่งให้เด็กเกิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ การถามคำถามจะต้องไม่ทำลายอรรถรสของการฟังนิทาน ครูอาจตั้งคำถามไว้หลายคำถาม แต่อาจไม่ได้ใช้ทุกคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและปฏิกิริยาของเด็กในขณะฟังนิทาน


 




Week 15
Wednesday  18  September  2013
การเรียนการสอน Teaching
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำอุปกรณ์ในการทำไข่ตุ๋นมาทำไข่ตุ่นพร้อมสอนเด็กๆในการทำไข่ตุ่น
 
 
แนะนำอุปกรณ์และสาธิตวิธีการหั่นแครอท

 
แครอทหั่นเต๋าและปูอัดหั่นชิ้นเล็กๆ
 
 นำไข่ไปนึ่ง

ไข่ตุ๋นที่สุกแล้วพร้อมรับประทาน

การทำไข่ตุ๋นทรงเครื่อง




วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย
Sunday  15 September  2013
การเรียนการสอน Teaching
อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานในหัวข้อการทำอาหาร โดยแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม โดยกลุ่มของดิฉันเลือกหัวข้อการทำไข่ตุ๋น
การสอนเด็กทำอาหาร
 




จากนั้นอาจารย์สรุปองค์ความรู้ พร้อมให้นักศึกษาอธิปรายเกี่ยวกับการทำอาหาร โดยในสัปดาห์ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์ให้เรียบร้อยเพื่อทำไข่ตุ๋น

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 14
Wednesday  11 September 2013
หมายเหตุ  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ



วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

Week 13
Wednesday  September 2013
หมายเหตุ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ 


วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week  12
Wednesday  28 August  2013

ศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ 

1. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
           ช่วงอายุ
อายุต่ำกว่า 3 ปี และ ช่วงอายุ 3 - 5 ปี

ระยะเวลาเรียน
ขึ้นอยู่กับอายุเด็กที่เริ่มเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูและรับการศึกษา
 2. โครงสร้างเวลาเรียน

ช่วงชั้นอายุ
ชั้นบริบาล 1 อายุ 2 – 3 ปี
ชั้นบริบาล 2 อาย 3 – 4 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุ 4 – 5 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5 – 6 ปี

3. กิจกรรมเสริมหลักสูตร
โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังนี้

คอมพิวเตอร์

                 สอนเสริมโดยครูที่มี ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะนักเรียนได้เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ และสร้างสรรค์ผลงานโดยการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของ โรงเรียน

ดนตรี

                สอนเสริมโดยครูสอนดนตรี จากบริษัทซีเอ็มจีกรุ๊ป เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนกล้าแสดงออก มีสุนทรียภาพทางอารมณ์ตามลักษณะที่พึงประสงค์  ตลอดจนเห็นคุณค่าของการเล่นดนตรี

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาคฤดูร้อน (Summer camp)
                เป็นกิจกรรมเสริมวิชาการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมนันทนาการที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เป็นเวลา  ๔  สัปดาห์
แนวการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอนจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ผ่านการทำโครงการเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเด็กจะค่อยๆซึมซับการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้เหมาะสมตามวัย




ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

ศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตนครราชสีมา

การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนลำปลายมาศ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน ( Problem-Based Learning : PBL)
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ PBL คือ วิธีการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าศึกษาความรู้ด้วยวิธี การต่างๆจากแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีการศึกษาหรือเตรียมตัว ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวมาก่อน
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ วิธีการที่นักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเรียนรู้โดยใช้ประเด็น สำคัญในกรณีปัญหาที่เป็นจริงหรือกำหนดขึ้น เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองโดยการสืบ ค้นข้อมูลหาความรู้หรือทักษะต่างๆแล้วนำความรู้ที่ค้นหามาเล่าสู่กันฟังพร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายร่วม กันเรียนรู้แล้วลงสรุปความรู้ใหม่
กลไกพื้นฐานในการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
ในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ การให้ผู้ 
เรียนได้ผ่านการเรียนรู้ต่างๆอย่างครบถ้วน 3 ประการ คือ 
1. Problem-based Leaning คือ ขบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ “ปัญหา” เป็นหลัก ใน 
การแสวงหาความรู้ด้วยกลวิธีหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานอันเป็นการแก้ปัญหานั้น โดยผู้เรียนจะ 
ต้องนำปัญหาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ความคิดที่มีเหตุผล และมีการแสวงหาความรู้ใหม่ขบวนการ 
เรียนรู้แบบ Problem-based สามารถเกิดขึ้นได้กับการเรียนรายบุคคล หรือการเรียนกลุ่มย่อยได้ แต่การเรียนแบบกลุ่มย่อยจะช่วยให้รวบรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาได้กว้างขวางมากกว่า 
2. Self-directed Learning คือ ขบวนการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการใช้ความรู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการกำหนดการดำเนินงานของตนเอง และการประเมินผลของตนเอง ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์งานของตนเองด้วย 
3. Small-group Learning คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนได้ พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม และยอมรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกันค้นคว้าหาแนวความคิดใหม่ๆ

กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมี 7 
ขั้นตอน ดังนี้ 
ขั้นตอนที่ 1 
กลุ่มผู้เรียนทำความเข้าใจคำศัพท์ ข้อความที่ปรากฏอยู่ในปัญหาให้ชัดเจน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราหรือสื่ออื่นๆ 
ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผู้เรียนระบุปัญหาหรือข้อมูลสำคัญร่วมกัน โดยทุกคนในกลุ่มเข้าใจปัญหา เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดที่กล่าวถึงในปัญหานั้น 
ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มผู้เรียนระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาต่างๆอธิบายความเชื่อมโยงต่างๆของข้อมูลหรือปัญหา 
ขั้นตอนที่ 4 กลุ่มผู้เรียนกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน พยายามหาเหตุผลที่จะอธิบายปัญหาหรือข้อมูลที่พบ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน การแสดงความคิด 
อย่างมีเหตุผล ตั้งสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลสำหรับปัญหานั้น 
ขั้นตอนที่ 5 กลุ่มผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อค้นหาข้อมูลหรือความรู้ที่จะอธิบายหรือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดต้อง 
กลับไปทบทวน ส่วนใดยังไม่รู้หรือจำเป็นต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติม 
ขั้นตอนที่ 6 ผู้เรียนค้นคว้ารวบรวมสารสนเทศจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
ขั้นตอนที่ 7 จากรายงานข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้มา กลุ่มผู้เรียนนำมาอภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แล้วนำมาสรุปเป็นหลักการและประเมินผลการเรียนรู้ 

บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
1. ใช้คำถามนำและคำถามปลายเปิด 
2. ช่วยผู้เรียนสะท้อนประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีอยู่ 
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ 
4. เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน และให้การอภิปรายอยู่ในกรอบที่กำลังศึกษา 
5. ตั้งประเด็นที่จำเป็นในการพิจารณาและอภิปรายร่วมกัน 
6. ให้แนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนกระบวนการเรียนอย่างระมัดระวัง 
7. กระตุ้นและให้การสนับสนุนผู้เรียน 
8. จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย ให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความพอใจและไม่กลัวต่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น

ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบัน 
2. เสริมสร้างความสามารถในการใช้ทรัพยากรของผู้เรียนได้ดีขึ้น 
3. ส่งเสริมการสะสมการเรียนรู้ และการคงรักษาข้อมูลใหม่ไว้ได้ดีขึ้น 
4. เมื่อใช้ในการแก้ปัญหาของสหสาขาวิชา ทำให้สนับสนุนความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน 
5. ช่วยให้เกิดการตัดสินใจแบบองค์รวมหรือแบบสหสาขาวิชาสำหรับปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 


นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week 11
Wednesday 21 August 2013
การเรียนการสอน  Teaching
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ จึงให้นักศึกษาทำงานแล้วสรุปลงใน Blog โดยให้นักศึกษานำใบไม้แห้งมาทำเป็นว่าวใบไม้ โดยว่าวสามารถลอยขึ้นได้พร้อมถ่ายภาพลง Blog





อุปกรณ์และขั้นตอนการทำว่าวใบไม้


 ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (ทำเพิ่มเติ่ม)

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week 10
Wednesday 14 August  2013
การเรียนการสอน Teaching
อาจารย์ตรวจดู Blogger ของนักศึกษา พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสรุปงานลงในบล็อก การแก้ไข ปรับปรุงบล็อกให้น่าสนใจมากขึ้น
อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่องการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยให้นักศึกษาดำเนินงานแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบเป็นฝ่ายต่างๆดังนี้


การแบ่งหน้าที่ในการศึกษาดูงาน

สรุปองค์ความรู้ 
Summary of knowledge
การไปศึกษาดูงานนั้นนักศึกษาต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ในการศึกษาข้อมูลของแต่ละโรงเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลด้านการเรียนการสอนหรือการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ สิ่งที่สำคัญในการที่ไปศึกษาดูงานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาต้องวางแผนร่วมกันว่าใครจะทำอะไรบ้างและแต่ละคนต้องมีหน้าที่คอยประสานงานด้านต่างๆเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการไปศึกษาดูงาน และสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับและประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Tuesday 13 August 2013 13.00-16.30 น.
อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมอบรม โครงการ "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต"
 ณ ห้องประชุมจันทร์ประภัสส์ ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี
บรรยายพิเศษเรื่อง "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต" โดยคุณมีชัย วีระไวทยะ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ



สรุปองค์ความรู้  Summary of knowledge

นวัตกรรมและความคิดนอกกรอบช่วยสร้างให้เด็กเป็นผู้นำโดยม่ปล่อยให้เป็นผู้ตาม ให้เป็นคนซื่อสัตย์ มีวินัย รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการแบ่งปัน มีความคิดริเริ่ม และสามารถแสวงหาคำตอบ มีความรู้ในด้านการจัดการ การทำธุรกิจที่สามารถพึ่งตนเองได้ รวมทั้งลดปัญหาความยากจนของครอบครัว โดยเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตร ปลูกพืชผักเพื่อขายเป็นรายได้ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่ครอบครัวและชุมชนที่อาศัยอยู่ ช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีรายได้เพิ่มมากขึ้น  รู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น รวมทั้งส่งเสิมให้โรงเรียนเป็นแหล่งรู้ตลอดชีวิต และเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาของทุกคนในชุมชน