สรุปงานวิจัย
เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
ปริญญานิพนธ์ โดย ศศิพรรณ สำแดงเดช
พ.ศ. 2553
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ประชากรและตัวอย่าง
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน
กลุ่มตัวอย่าง
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คนที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
ระยะเวลา
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาทีในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ
8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาทีในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ
เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
วิธีการดำเนินการทดลอง
1. ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยใน
ขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
ขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็นคะแนนก่อนการทดลอง
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที
ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
ในช่วงเวลา 08.30 – 09.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
3. เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
ระดับความสามารถทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัด
กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เด็กปฐมวัยมีระดับความสามารถทางทักษะวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน แต่หลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานพบว่าเด็กปฐมวัยมีความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก การสื่อสาร อยู่ในระดับดี และด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก
กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เด็กปฐมวัยมีระดับความสามารถทางทักษะวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน แต่หลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานพบว่าเด็กปฐมวัยมีความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก การสื่อสาร อยู่ในระดับดี และด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก
การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยโดยรวมพบว่า หลังการทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คือด้านการสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่า จากก่อนการทดลอง แสดงว่าการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้สูงขึ้นได้
ข้อเสนอแนะในการนำผลการศึกษาไปใช้
1. ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน กับเด็กจำนวนมาก ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรม เช่น ถ้าใช้ภาพประกอบการเล่านิทาน ภาพจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะสามารถมองเห็นได้ทุกคน กิจกรรมการทดลองสื่อต้องมีเพียงพอสำหรับเด็กนอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมกับเด็กจำนวนมาก โอกาสที่เด็กทุกคนจะได้ออกมาปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นไปได้ยาก จึงควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับจำนวนของเด็กด้วย
2. นิทาน 1 เรื่อง สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะวิทยาศาสตร์ที่ต้องการได้หลายทักษะซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนในการที่จะดัดแปลงนิทานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
3. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมต้องมีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก ครูต้องคำนึงถึงความสมดุลของช่วงเวลาที่ใช้ในการเล่านิทานและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลองด้วย เช่น ในเด็กอายุ 5 – 6 ปี เวลาในการจัดกิจกรรมไม่ควรเกิน 15 นาทีถ้าใช้เวลาในการเล่านิทานนาน เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองจะต้องสั้นลง เป็นต้น
4. การกำหนดคำถามในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง นอกจากจะมุ่งให้เด็กเกิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ การถามคำถามจะต้องไม่ทำลายอรรถรสของการฟังนิทาน ครูอาจตั้งคำถามไว้หลายคำถาม แต่อาจไม่ได้ใช้ทุกคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและปฏิกิริยาของเด็กในขณะฟังนิทาน
1. ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน กับเด็กจำนวนมาก ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรม เช่น ถ้าใช้ภาพประกอบการเล่านิทาน ภาพจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะสามารถมองเห็นได้ทุกคน กิจกรรมการทดลองสื่อต้องมีเพียงพอสำหรับเด็กนอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมกับเด็กจำนวนมาก โอกาสที่เด็กทุกคนจะได้ออกมาปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นไปได้ยาก จึงควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับจำนวนของเด็กด้วย
2. นิทาน 1 เรื่อง สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะวิทยาศาสตร์ที่ต้องการได้หลายทักษะซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนในการที่จะดัดแปลงนิทานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
3. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมต้องมีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก ครูต้องคำนึงถึงความสมดุลของช่วงเวลาที่ใช้ในการเล่านิทานและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลองด้วย เช่น ในเด็กอายุ 5 – 6 ปี เวลาในการจัดกิจกรรมไม่ควรเกิน 15 นาทีถ้าใช้เวลาในการเล่านิทานนาน เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองจะต้องสั้นลง เป็นต้น
4. การกำหนดคำถามในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง นอกจากจะมุ่งให้เด็กเกิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ การถามคำถามจะต้องไม่ทำลายอรรถรสของการฟังนิทาน ครูอาจตั้งคำถามไว้หลายคำถาม แต่อาจไม่ได้ใช้ทุกคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและปฏิกิริยาของเด็กในขณะฟังนิทาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น