Wednesday 24 July2013
การเรียนการสอน Teaching
อาจารย์สอนเรื่องวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา คือการระบุปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา และกำหนด ขอบเขตของปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น หรือการคาดเดาคำตอบ ที่จะได้รับ
3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง
4. ขั้นสรุปผล คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
มายแม็ป วิทยาศาสตร์
การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ
ทิพย์วัล สีจันทร์ (2531 :19) กล่าวถึงการใช้คำถามเพื่อฝึกฝนให้ผู้วัดหาคำตอบและกระทำตาม คือ
1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก
2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะวัดด้วย
4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการวัด- ตัวอย่างการวัดอย่างง่าย ได้แก่ วัดโต๊ะเรียนสูงกี่คืบ กระดานดำยาวกี่ศอก น้ำมี
ปริมาตรกี่ปี๊บ ระยะเวลาเรียนหนังสือนานเพียงไร (อาจตอบว่าตั้งแต่หลังเคารพธงชาติ จนถึงเวลาอาหารกลางวันหรือพระอาทิตย์ตรงศรีษะ)
ทักษะการสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้
1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น
การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้
1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลต่างกับการทำนายในแง่ที่ว่า การลงความเห็นจากข้อมูลไม่บอกเหตุการณ์ในอนาคต เป็นเพียงแต่อธิบายความหมายจากข้อมูล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย การลงความเห็นจากข้อมูล เป็นการอธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
สเปส หรือมิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็ก
ปฐมวัยอาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลาการสังเกตเงา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อวัตถุจากการสังเกตเงา และเปรียบเทียบเงาที่ได้เห็นกับวัตถุของจริงได้
วัสดุอุปกรณ์
1. ฉาก (อาจจะใช้กระดาษขาว กล่องกระดาษหรือผ้า)
2.วัตถุหลาย ๆ ประเภทนี้มองเห็นได้ชัดเจน แลมีรูปร่างที่เด่นชัดเมื่อเด็กมองเห็น สามารถจะตอบได้ว่าเป็นอะไร เช่น ขวด แก้ว ช้อน ส้อม รูปดาว ดอกไม้ เป็นต้น วัสดุนี้อาจจะใช้ของจริงหรือของจำลองก็ได้
3. รูปภาพ หรือภาพร่าง ของวัตถุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทุกชนิด
กิจกรรม
1.จัดตั้งฉาก อาจจะเอาออกไปจัดทำกลางแจ้งเพื่อให้แสงแดดส่องวัตถุทำให้เกิดเงาบนฉาก หรืออาจจะทำในห้องโดยใช้แสงไฟ ฉายไปที่วัตถุก็ได้
2.ถือวัตถุไว้หลังฉากโดยทำเป็นมุมปกติ และถือวัตถุตามแนวตั้งให้เด็กที่นั่งข้าง หน้าฉากตอบว่าเป็นวัตถุอะไร และทำไมเขาคิดว่าเป็นวัตถุประเภทนั้น
3.ให้เด็กจับคู่รูปภาพของวัตถุให้สอดคล้องกับเงาที่เขาได้สังเกตไว้ ครูควรจะปิดรูปภาพไว้ก่อน หลังจากดูเงาที่ฉากแล้วจึงเปิดรูปภาพให้เด็กดูและให้เขาเลือกจับคู่ มิฉะนั้นแล้วเด็กจะสนใจกับรูปภาพโดยไม่ได้ตั้งใจดูเงาที่ฉาก
4. ถามเด็กว่าเขาใช้ประสาทส่วนใดในการสังเกต
ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้เด็กได้เล่นกับเงาที่ฉาก และให้เด็กแต่ละคนได้เป็นผู้ทำกิจกรรมนี้โดยผลัดกันออกมาถือวัตถุไว้หลังฉาก
2. วัสดุที่นำมาให้เด็กเล่นควรมีความหลากหลายเด็กจะได้ไม่เบื่อ
3. เมื่อเด็กคุ้นเคยกับกิจกรรมที่ใช้วัตถุแล้ว อาจให้เด็กใช้มือแสดงเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ และให้เพื่อนทายว่าเป็นสัตว์ประเภทใด ซึ่งกิจกรรมนี้ครูจะต้องฝึกเด็กดูก่อน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อวัตถุจากการสังเกตเงา และเปรียบเทียบเงาที่ได้เห็นกับวัตถุของจริงได้
วัสดุอุปกรณ์
1. ฉาก (อาจจะใช้กระดาษขาว กล่องกระดาษหรือผ้า)
2.วัตถุหลาย ๆ ประเภทนี้มองเห็นได้ชัดเจน แลมีรูปร่างที่เด่นชัดเมื่อเด็กมองเห็น สามารถจะตอบได้ว่าเป็นอะไร เช่น ขวด แก้ว ช้อน ส้อม รูปดาว ดอกไม้ เป็นต้น วัสดุนี้อาจจะใช้ของจริงหรือของจำลองก็ได้
3. รูปภาพ หรือภาพร่าง ของวัตถุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทุกชนิด
กิจกรรม
1.จัดตั้งฉาก อาจจะเอาออกไปจัดทำกลางแจ้งเพื่อให้แสงแดดส่องวัตถุทำให้เกิดเงาบนฉาก หรืออาจจะทำในห้องโดยใช้แสงไฟ ฉายไปที่วัตถุก็ได้
2.ถือวัตถุไว้หลังฉากโดยทำเป็นมุมปกติ และถือวัตถุตามแนวตั้งให้เด็กที่นั่งข้าง หน้าฉากตอบว่าเป็นวัตถุอะไร และทำไมเขาคิดว่าเป็นวัตถุประเภทนั้น
3.ให้เด็กจับคู่รูปภาพของวัตถุให้สอดคล้องกับเงาที่เขาได้สังเกตไว้ ครูควรจะปิดรูปภาพไว้ก่อน หลังจากดูเงาที่ฉากแล้วจึงเปิดรูปภาพให้เด็กดูและให้เขาเลือกจับคู่ มิฉะนั้นแล้วเด็กจะสนใจกับรูปภาพโดยไม่ได้ตั้งใจดูเงาที่ฉาก
4. ถามเด็กว่าเขาใช้ประสาทส่วนใดในการสังเกต
ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้เด็กได้เล่นกับเงาที่ฉาก และให้เด็กแต่ละคนได้เป็นผู้ทำกิจกรรมนี้โดยผลัดกันออกมาถือวัตถุไว้หลังฉาก
2. วัสดุที่นำมาให้เด็กเล่นควรมีความหลากหลายเด็กจะได้ไม่เบื่อ
3. เมื่อเด็กคุ้นเคยกับกิจกรรมที่ใช้วัตถุแล้ว อาจให้เด็กใช้มือแสดงเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ และให้เพื่อนทายว่าเป็นสัตว์ประเภทใด ซึ่งกิจกรรมนี้ครูจะต้องฝึกเด็กดูก่อน
ทักษะการคำนวณ
การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย
ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก
คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะในการทดลองหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ นั้น ต้องใช้ตัวเลขในการคำนวณค่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการทดลอง ดังนั้น
กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของตัวเลข จำนวนบวก จำนวนลบ เลขเต็มหน่วย เซตทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคำนวณ
- ครูจัดหาวัตถุสิ่งของมาให้เด็กได้นับจำนวน เช่น มีก้อนหิน 10 ก้อน เป็นต้น
- ครูให้เด็กศึกษาการเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยให้เด็กปลูกและดูแลต้นไม้เอง ตั้งแต่การเพาะเมล็ด และให้เด็กทำการวัดแต่ละสัปดาห์ต้นไม้สูงขึ้นเท่าไร แล้วบันทึกความสูงไว้เป็นจำนวนตัวเลข (ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรแน่ใจใจว่า เด็กมีความรู้พื้นฐานเรื่องการวัด)
คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะในการทดลองหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ นั้น ต้องใช้ตัวเลขในการคำนวณค่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการทดลอง ดังนั้น
กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของตัวเลข จำนวนบวก จำนวนลบ เลขเต็มหน่วย เซตทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคำนวณ
- ครูจัดหาวัตถุสิ่งของมาให้เด็กได้นับจำนวน เช่น มีก้อนหิน 10 ก้อน เป็นต้น
- ครูให้เด็กศึกษาการเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยให้เด็กปลูกและดูแลต้นไม้เอง ตั้งแต่การเพาะเมล็ด และให้เด็กทำการวัดแต่ละสัปดาห์ต้นไม้สูงขึ้นเท่าไร แล้วบันทึกความสูงไว้เป็นจำนวนตัวเลข (ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรแน่ใจใจว่า เด็กมีความรู้พื้นฐานเรื่องการวัด)
บทสรุป
จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา
การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา
การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)
2. การทำงานภาคสนาม (Field Work)
3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation)
4. การสืบค้น (Investigation)
5. การจัดแสดง (Display)
2. การทำงานภาคสนาม (Field Work)
3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation)
4. การสืบค้น (Investigation)
5. การจัดแสดง (Display)
โครงสร้างดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก
ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ
ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก
ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น