วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

Week 6
Wednesday 17 July 2013
การเรียนการสอน  Teaching
การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง ขวดเป่าลูกโป่ง
วัสดุอุปกรณ์ 
1. ขวดแก้วหรือขวดพลาสติก
2. ลูกโป่ง
3. เบกกิ้งโซดา 5 ช้อนโต๊ะ ( ผงฟู )
4. น้ำส้มสายชู
วิธีการทดลอง
1. ให้เด็กๆลองเป่าลูกโป่งให้ยืดออกก่อน
2. ให้เด็กใส่เบกกิ้งโซดา( ผงฟู )ลงในขวดแก้ว ประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ
3. ใส่น้ำส้มสายชูลงในขวดแก้ว
4. จากนั้นครอบลูกโป่งลงบนปากขวด

วิธีการสอน (การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย)
1. เด็กๆ ค่ะ วันนี้ครูมี ลูกโป่ง ขวดแก้ว ผงฟู น้ำส้มสายชู เด็กๆคิดว่าครูจะนำมาทำอะไรเอ่ย (ให้เด็กๆคิดและช่วยกันตอบ)
2. ครูแจกลูกโป่งให้เด็กคนละ 1 ลูก เด็กๆลองเป่าลูกโป่งซิค่ะ
3. ขวดใบที่1 เด็กๆ เห็นขวดแก้วไหมค่ะ ถ้าครูลองเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด ลูกโป่งจะพองขึ้นเหมือนกับที่เด็กๆเป่าลูกโป่งไหม (ให้เด็กสังเกต แล้วบันทึกพร้อมวาดภาพ)
4. ขวดใบที่ 2 เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่ผงฟูและน้ำส้มสายชูลงไปในขวด จากนั้นครูเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
5. เริ่มการทดลอง ครูใส่ผงฟูและน้ำส้มสายชูลงไปในขวด จากนั้นครูเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด (ให้เด็กๆสังเกตดูว่าลูกโป่งเริ่มขยายใหญ่ขึ้น พร้อมบันทึกและวาดภาพ)
6. ครูถามเด็กๆ เด็กๆคิดว่าลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้นเพราะอะไร (เด็กตอบว่าเพราะในขวดมีลมทำให้ลูกโป่งใหญ่ขึ้น เด็กเกิดการเชื่อมโยงจากสิ่งที่เด็กได้ลงมือกระทำในขั้นต้น)
ภาพการทดลอง

วัสดุ/อุปกรณ์ น้ำส้มสายชู ขวดแก้ว ลูกโป่ง ผงฟู

เทผงฟูใส่ในขวดแก้ว 1 ซอง

ใส่น้ำส้มสายชู


นำลูกโป่งไปครอบที่ปากขวด

สังเกต ลูกโป่งเริ่มพองขึ้น

ลูกโป่งพองขึ้นเรื่อยๆ



แนวคิด
เมื่อเบกกิ้งโซดาทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ ก๊าซจึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้

เรามารู้จักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กัน

คาร์บอนไดออกไซด์ (อังกฤษcarbon dioxide) เป็นก๊าซในบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอม และ ออกซิเจน 2 อะตอม ต่อหนึ่งโมเลกุล. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งในสารประกอบเคมีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และมักเรียกด้วยสูตรเคมี CO2 เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง มักจะเรียกว่า น้ำแข็งแห้ง (dry ice)
เป็นก๊าซที่มีปริมาณมากเป็นอันดับ 4 ในอากาศ รองจากไนโตรเจน ออกซิเจนและ อาร์กอน
คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น ภูเขาไฟระเบิด การหายใจของสิ่งมีชีวิต หรือการเผาไหม้ของสารประกอบอินทรีย์ ก๊าซนี้เป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เพื่อใช้คาร์บอนและออกซิเจนในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ พืชจะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาสู่บรรยากาศ ทำให้สัตว์ได้ใช้ออกซิเจนนี้ในการหายใจ การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ของพืชนี้เป็นการลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซหนึ่งที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก

คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี


คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ เนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน

คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O=C=O) ไม่ติดไฟและไม่ทำปฏิกิริยา

คาร์บอนไดออกไซด์จะกลายเป็นของแข็งที่มีสีขาวอุณหภูมิ -78 องศาเซลเซียส โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน หากต้องการทำให้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเหลว ต้องใช้ความดันไม่น้อยกว่า 5.1 บรรยากาศ

คาร์บอนไดออกไซด์สามารถละลายน้ำได้ 1 เปอร์เซนต์ของสารละลายนั้นจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิกซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็นไบคาร์บอเนตและคาร์บอเนตในภายหลัง

การทดสอบก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. นำธูปที่ติดไฟอยู่เข้าไปในหลอดทดลองที่มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ ไฟจะดับ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ช่วยในการติดไฟของสาร จึงนำมาใช้เป็นก๊าซดับเพลิงได้

2. ผ่านก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปในน้ำปูนใส (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) น้ำปูนใสจะขุ่น เนื่องจากเกิดแคลเซียมคาร์บอเนตขึ้น

  • การใช้


    คาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นของแข็งและของเหลวถูกใช้ในการแช่แข็ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารขณะขนส่งไอศกรีมหรืออาหารแช่แข็ง นอกจากนี้ คาร์บอนไดออกไซด์แข็งที่เรียกกันว่าน้ำแข็งแห้ง ยังสามารถใช้เป็นห่อบรรจุเพื่อขนส่งได้เมื่ออุปกรณ์ในการแช่แข็งไม่พร้อมมากนัก

    คาร์บอนไดออกไซด์ยังใช้สำหรับการผลิตน้ำอัดลมหรือโซดา และยังมีผสมในเบียร์ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เบียร์บางยี่ห้อได้มีการใส่คาร์บอนไดออกไซด์โดยเจตนาด้วย

    หมายเหตุ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดธุระ แต่อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานสื่อวิทยาศาสตร์ลงบล็อก


    ของเล่นวิทยาศาสตร์ 

    คอปเตอร์จากไม้ไอศครีม
      วัสดุอุปกรณ์
    1. ไม้ไอศครีม
    2. หลอดชาไข่มุก
    3. ไม้เสียบลูกชิ้น
    4.เชือกเส้นเล็ก
    5. กาวยูฮู
    6. กรรไกร

    วิธีทำ
    1.  นำไม้ไอศครีมมาเจาะรูตรงกลาง
    2. นำไม้เสียบลูกชิ้นเสียบตรงกลางรูของไม้ไอศรีม ยึดให้แน่นด้วยกาวยูฮู รอให้แห้ง
    3. นำหลอดชาไข่มุกมาเจาะเป็นรูเล็กๆ สำหรับใส่เชือก
    4. นำหลอดชาไข่มุกอีก 1 อันมาตัดออกประมาณ 1 เซนติเมตร
    5. นำเชือกมามัดหลอด ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งมาผูกกับแกนของใบพัด (ใบเสียบลูกชิ้น)นำแกนใบพัดสอดเข้าไปในหลอด

    วิธีเล่น
    1. จับแกนใบพัด จากนั้นหมุนแกนใบพัดไปข้างซ้ายหรือขวาก็ได้ ถ้าสมมุติว่าเราหมุนใบพัดไปทางขวาก็หมุนไปทางขวาตลอด ไม่หมุนวนไปมาเพราะจะทำให้เชือกพันกัน
    2. เมื่อหมุนเชือกแล้วจับที่แกนใบพัด ดึงเชือกออก ใบพัดก็จะหมุน เมื่อใบพัดหยุดหมุนก็หมุนใบพัดเช่นเดิมเหมือนที่กล่าวไว้ขางต้น

    หลักการและเหตุผล
     การจับปลายเชือกด้านที่อิสระ แล้วหมุนใบพัดเชือกส่วนที่เหลือก็จะหมุนรอบแกนหมุน จากนั้นกระตุกหรือดึงปลายเชือก ให้ส่วนที่แกนหมุนเริ่มหมุนคลายเชือกที่พันไว้นั้น ด้วยความเฉื่อยของการหมุนดังกล่าว สามารถทำให้ใบพัดเคลื่อนที่หมุนออกจนสุดระยะเชือกที่พัน 




    ภาพการทดลอง

    วัสดุ/อุปกรณ์

    เจาะไม้ไอติมตรงกึ่งกลาง
     
    นำไม้มาเสียบตรงกลางไม้ไอติม
     
    ติดกาว

     
    ตัดหลอดชาไข่มุกสำหรับเป็นที่จับ

     
    นำด้ายมามัดใส่หลอดที่เราตัดไว้
     
    เจาะรูหลอดชาไขมุกรูเล็กๆ เพื่อนำด้ายมาสอดใส่
     
    นำด้ายมาสอดใส่
     
    มัดด้ายกับไม้ให้แน่น
     
    เอาไม้ใส่เข้าไปในหลอด

    หมุนไม้ไอติมไปด้านเดียวกัน เพื่อให้ด้ายพันกับแกนของไม้ที่อยู่ข้างใน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น