วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 8

Week 8
 Wednesday 31 July 2013
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค





สัปดาห์ที่ 7

Week 7
Wednesday  24 July2013
การเรียนการสอน  Teaching
อาจารย์สอนเรื่องวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific method)
          วิธีการทางวิทยาศาสตร์  เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 
   
               1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา  คือการระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนด      ขอบเขตของปัญหา  
   
               2. ขั้นตั้งสมมติฐาน  คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบ  ที่จะได้รับ 
   
               3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล  คือการรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ  สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง 
   
               4. ขั้นสรุปผล  คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล     เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา


มายแม็ป วิทยาศาสตร์


ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะการสังเกต
             การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ หลักสำคัญไปสู่การสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
             1. ความรู้ที่ได้จากการสังเกตต้องเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้งห้า
             2. ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่างละเอียดละออ
             3. ต้องใช้ความสามารถของร่างกาย โดยเฉพาะประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกตอย่าง
ระมัดระวัง และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่า
สุชาติ โพธิวิทย์ (ม.ป.ป.:15) ได้กล่าวถึงการสังเกตที่สำคัญที่ควรฝึกให้แก่เด็ก มี 3 ทางคือ 
             1. การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป คือ ความสามารถในการใช้ประสาท
สัมผัสทั้ง 5 อย่าง สังเกตสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง คือ การใช้ตาดูรูปร่าง ลักษณะ หูฟังเสียง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น และการสัมผัสจับต้องดูว่าเรียบ ขรุขระ แข็ง นิ่ม ฯลฯ
             2. การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การใช้เทอร์โมมิเตอร์ ตาชั่ง ไม้บรรทัด กระบอกตวง ช้อน ลิตร ถัง ฯลฯ ใช้เครื่องมือเหล่านี้วัดสิ่งต่าง ๆ แล้วรายงานออกมาเป็นปริมาณ เป็นจำนวน
             3. การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง เช่น สังเกตการเจริญเติบโตของต้นพืช การเจริญ
เติบโตของสัตว์ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงขนาดของผลึก การกลายเป็นไอของน้ำ ฯลฯ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต

การสังเกตโดยใช้ตา  ในการสังเกตโดยใชสายตานั้น หากเด็กได้รับการชี้แนะให้รู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่าง ๆ สังเกตความเหมือน ความแตกต่าง รู้จักจำแนก และจัดประเภทก็จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียดรอบคอบ
 การสังเกตโดยใช้หู    นอกจากความสามารถในการจำแนกเสียงจะมีประโยชน์ต่อการเตรียมความพร้อม ทางภาษาแล้วยังมีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กอีกด้วย เสียงที่เด็กคุ้นหูคือ เสียงสัตว์ต่าง ๆ
การสังเกตโดยใช้จมูก   กิจกรรมที่ใช้การดมกลิ่น ควรประกอบด้วยการให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นต่าง ๆ กัน รวม ทั้งให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นคล้าย ๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยเพื่อให้รู้จักจำแนกได้ ละเอียดขึ้น
การสังเกตโดยใช้ลิ้น  การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็กสนุกสนานเพราะสอดคล้องกับ ธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะ สิ่งต่าง ๆ แต่ต้องสอนให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดเอาเข้าปากได้ และสิ่งใดไม่ควรแตะต้องเพราะมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อร่างกาย
การสังเกตโดยใช้การสัมผัสทางผิวหนัง   การสัมผัสโดยใช้มือแตะหรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป 
ทักษะการจำแนกประเภท
             การจำแนกประภท (Classifying) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ (Criteria) หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น เกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทของสิ่งของมีอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน (Similarities) ความแตกต่าง (Differences) และความสัมพันธ์ร่วม (Interrelationships) ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้เกณฑ์อันไหน 

             การวัด (Measurement) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่าง ๆ วัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ
ทิพย์วัล สีจันทร์ (2531 :19) กล่าวถึงการใช้คำถามเพื่อฝึกฝนให้ผู้วัดหาคำตอบและกระทำตาม คือ
             1. จะวัดอะไร คำถามนี้จะทำให้ผู้วัดได้รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด รู้จักธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่น วัดความกว้าง ยาว สูง ของแท่งไม้ วัดปริมาตรของน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ วัดอุณหภูมิ วัดน้ำหนัก 
             2. จะวัดทำไม คำถามนี้ช่วยให้เราทราบความมุ่งหมายที่จะวัดว่า ต้องการทราบอะไร เช่น ความยาว ปริมาตร น้ำหนัก ความแข็ง อุณหภูมิ ฯลฯ และต้องการความละเอียดมากน้อยเพียงใด
             3. จะวัดด้วยอะไร คำถามนี้ต้องการทราบถึงการเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งของที่จะวัดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่จะวัดด้วย
             4. จะวัดอย่างไร คำถามนี้ถามถึงวิธีการที่เราจะวัด เช่น วัดโดยการนับจำนวนและนับโดยใช้ลำดับที่ เช่น ที่หนึ่ง ที่สอง ต่อไป สุดท้าย คู่ วัดโดยการตวง วัดโดยการชั่ง วัดโดยการเปรียบเทียบ 
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการวัด- ตัวอย่างการวัดอย่างง่าย ได้แก่ วัดโต๊ะเรียนสูงกี่คืบ กระดานดำยาวกี่ศอก น้ำมี
ปริมาตรกี่ปี๊บ ระยะเวลาเรียนหนังสือนานเพียงไร (อาจตอบว่าตั้งแต่หลังเคารพธงชาติ จนถึงเวลาอาหารกลางวันหรือพระอาทิตย์ตรงศรีษะ)

ทักษะการสื่อความหมาย
             การสื่อความหมาย (Cummunication) หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน ตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก ก็จัดว่าเป็นการสื่อความหมายด้วย
ลักษณะที่จะบอกได้ว่า การสื่อความหมายได้ดีหรือไม่ จะต้องเป็นดังนี้
           1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุโดยให้รายละเอียดที่ผู้อื่นสามารถวิเคราะห์ได้
           2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
           3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำแล้ว
          4. จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น เช่น วาดภาพ ทำกราฟ เป็นต้น 

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล 
 การลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย ข้อมูลนี้อาจได้จากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง การลงความเห็นจากข้อมูลต่างกับการทำนายในแง่ที่ว่า การลงความเห็นจากข้อมูลไม่บอกเหตุการณ์ในอนาคต เป็นเพียงแต่อธิบายความหมายจากข้อมูล โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์เดิมมาช่วย การลงความเห็นจากข้อมูล เป็นการอธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล

ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
             สเปส หรือมิติ (Space) ของวัตถุใด ๆ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุนั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น เช่น สเปสของแผ่นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก็คือ เนื้อที่ซึ่งกระดาษแผ่นนี้ทับอยู่ ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเท่ากับแผ่นที่ทับอยู่ สเปสอาจมี 2 มิติ คือ กว้างและยาว หรืออาจมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และสูง ก็ได้ การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสสำหรับเด็ก
ปฐมวัยอาจได้แก่ การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ การบอกทิศทาง การบอกเงาที่เกิดจากภาพ 3 มิติ การเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงา การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย อาจได้แก่ การหาความสัมพันธ์ของวัตถุกับเวลาที่ใช้ไป เช่น การข้ามถนน การกะระยะมิติของรถที่กำลังแล่นมากับมิติ หรือสเปสของตัวเองที่จะข้ามถนน การเจริญเติบโตของถั่วงอกกับเวลาที่ใช้ไป เป็นต้น

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลาการสังเกตเงา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เด็กสามารถบอกชื่อวัตถุจากการสังเกตเงา และเปรียบเทียบเงาที่ได้เห็นกับวัตถุของจริงได้
วัสดุอุปกรณ์
1. ฉาก (อาจจะใช้กระดาษขาว กล่องกระดาษหรือผ้า)
2.วัตถุหลาย ๆ ประเภทนี้มองเห็นได้ชัดเจน แลมีรูปร่างที่เด่นชัดเมื่อเด็กมองเห็น สามารถจะตอบได้ว่าเป็นอะไร เช่น ขวด แก้ว ช้อน ส้อม รูปดาว ดอกไม้ เป็นต้น วัสดุนี้อาจจะใช้ของจริงหรือของจำลองก็ได้
3. รูปภาพ หรือภาพร่าง ของวัตถุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทุกชนิด
กิจกรรม
1.จัดตั้งฉาก อาจจะเอาออกไปจัดทำกลางแจ้งเพื่อให้แสงแดดส่องวัตถุทำให้เกิดเงาบนฉาก หรืออาจจะทำในห้องโดยใช้แสงไฟ ฉายไปที่วัตถุก็ได้
2.ถือวัตถุไว้หลังฉากโดยทำเป็นมุมปกติ และถือวัตถุตามแนวตั้งให้เด็กที่นั่งข้าง หน้าฉากตอบว่าเป็นวัตถุอะไร และทำไมเขาคิดว่าเป็นวัตถุประเภทนั้น
3.ให้เด็กจับคู่รูปภาพของวัตถุให้สอดคล้องกับเงาที่เขาได้สังเกตไว้ ครูควรจะปิดรูปภาพไว้ก่อน หลังจากดูเงาที่ฉากแล้วจึงเปิดรูปภาพให้เด็กดูและให้เขาเลือกจับคู่ มิฉะนั้นแล้วเด็กจะสนใจกับรูปภาพโดยไม่ได้ตั้งใจดูเงาที่ฉาก
4. ถามเด็กว่าเขาใช้ประสาทส่วนใดในการสังเกต
ข้อเสนอแนะ
1. ควรให้เด็กได้เล่นกับเงาที่ฉาก และให้เด็กแต่ละคนได้เป็นผู้ทำกิจกรรมนี้โดยผลัดกันออกมาถือวัตถุไว้หลังฉาก
2. วัสดุที่นำมาให้เด็กเล่นควรมีความหลากหลายเด็กจะได้ไม่เบื่อ
3. เมื่อเด็กคุ้นเคยกับกิจกรรมที่ใช้วัตถุแล้ว อาจให้เด็กใช้มือแสดงเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ และให้เพื่อนทายว่าเป็นสัตว์ประเภทใด ซึ่งกิจกรรมนี้ครูจะต้องฝึกเด็กดูก่อน
ทักษะการคำนวณ
             การคำนวณ หมายความถึงความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าเฉลี่ยต่าง ๆ และการคำนวณที่ซับซ้อนเช่น การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ และรวมไปถึงการคำนวณโดยใช้สูตรตั้งแต่ง่าย ๆ ไปจนถึงขั้นซับซ้อนขึ้นตามลำดับ
ทักษะการคำนวณที่ควรส่งเสริมให้แก่เด็กปฐมวัย 
ได้แก่ การนับจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่าง ๆ เช่น ความกว้าง ความยาว ความสูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก 
คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งสำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะในการทดลองหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ นั้น ต้องใช้ตัวเลขในการคำนวณค่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการทดลอง ดังนั้น 
กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะต้องใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในเรื่องของตัวเลข จำนวนบวก จำนวนลบ เลขเต็มหน่วย เซตทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคำนวณ
- ครูจัดหาวัตถุสิ่งของมาให้เด็กได้นับจำนวน เช่น มีก้อนหิน 10 ก้อน เป็นต้น
- ครูให้เด็กศึกษาการเจริญเติบโตของต้นไม้ โดยให้เด็กปลูกและดูแลต้นไม้เอง ตั้งแต่การเพาะเมล็ด และให้เด็กทำการวัดแต่ละสัปดาห์ต้นไม้สูงขึ้นเท่าไร แล้วบันทึกความสูงไว้เป็นจำนวนตัวเลข (ก่อนทำกิจกรรมนี้ครูควรแน่ใจใจว่า เด็กมีความรู้พื้นฐานเรื่องการวัด)
บทสรุป            
 จากที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การกระตุ้นให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐาน หรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 กระบวนการ ดังนี้ คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา และทักษะการคำนวณ
การสอนแบบโครงการ
การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา
 การสอนแบบโครงการเป็นวิธีที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่ก็มีความยืดหยุ่น ครูที่ใช้การสอนแบบนี้ได้อย่างเหมาะสม เด็กจะมีแรงจูงใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น ทั้งนี้ โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
          1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion)
         2. การทำงานภาคสนาม (Field Work)
        3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation)
        4. การสืบค้น (Investigation)
        5. การจัดแสดง (Display) 
        โครงสร้างดังกล่าวข้างต้นทั้งการอภิปรายกลุ่ม การทำงานภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์ การสืบค้น และการจัดแสดงจะอยู่ในระยะต่างๆ ของโครงการซึ่งมี 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและความสนใจของเด็ก 
ระยะที่ 2 ให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ และมีโอกาสสืบค้นเพื่อหาคำตอบ
ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนความคิด และแลกเปลี่ยนงานโครงการ



วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 6

Week 6
Wednesday 17 July 2013
การเรียนการสอน  Teaching
การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง ขวดเป่าลูกโป่ง
วัสดุอุปกรณ์ 
1. ขวดแก้วหรือขวดพลาสติก
2. ลูกโป่ง
3. เบกกิ้งโซดา 5 ช้อนโต๊ะ ( ผงฟู )
4. น้ำส้มสายชู
วิธีการทดลอง
1. ให้เด็กๆลองเป่าลูกโป่งให้ยืดออกก่อน
2. ให้เด็กใส่เบกกิ้งโซดา( ผงฟู )ลงในขวดแก้ว ประมาณ 5 ช้อนโต๊ะ
3. ใส่น้ำส้มสายชูลงในขวดแก้ว
4. จากนั้นครอบลูกโป่งลงบนปากขวด

วิธีการสอน (การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย)
1. เด็กๆ ค่ะ วันนี้ครูมี ลูกโป่ง ขวดแก้ว ผงฟู น้ำส้มสายชู เด็กๆคิดว่าครูจะนำมาทำอะไรเอ่ย (ให้เด็กๆคิดและช่วยกันตอบ)
2. ครูแจกลูกโป่งให้เด็กคนละ 1 ลูก เด็กๆลองเป่าลูกโป่งซิค่ะ
3. ขวดใบที่1 เด็กๆ เห็นขวดแก้วไหมค่ะ ถ้าครูลองเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด ลูกโป่งจะพองขึ้นเหมือนกับที่เด็กๆเป่าลูกโป่งไหม (ให้เด็กสังเกต แล้วบันทึกพร้อมวาดภาพ)
4. ขวดใบที่ 2 เด็กๆค่ะ ถ้าครูใส่ผงฟูและน้ำส้มสายชูลงไปในขวด จากนั้นครูเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น
5. เริ่มการทดลอง ครูใส่ผงฟูและน้ำส้มสายชูลงไปในขวด จากนั้นครูเอาลูกโป่งมาครอบที่ปากขวด (ให้เด็กๆสังเกตดูว่าลูกโป่งเริ่มขยายใหญ่ขึ้น พร้อมบันทึกและวาดภาพ)
6. ครูถามเด็กๆ เด็กๆคิดว่าลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้นเพราะอะไร (เด็กตอบว่าเพราะในขวดมีลมทำให้ลูกโป่งใหญ่ขึ้น เด็กเกิดการเชื่อมโยงจากสิ่งที่เด็กได้ลงมือกระทำในขั้นต้น)
ภาพการทดลอง

วัสดุ/อุปกรณ์ น้ำส้มสายชู ขวดแก้ว ลูกโป่ง ผงฟู

เทผงฟูใส่ในขวดแก้ว 1 ซอง

ใส่น้ำส้มสายชู


นำลูกโป่งไปครอบที่ปากขวด

สังเกต ลูกโป่งเริ่มพองขึ้น

ลูกโป่งพองขึ้นเรื่อยๆ



แนวคิด
เมื่อเบกกิ้งโซดาทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นมีน้ำหนักเบากว่าอากาศ ก๊าซจึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้

เรามารู้จักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กัน

คาร์บอนไดออกไซด์ (อังกฤษcarbon dioxide) เป็นก๊าซในบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอม และ ออกซิเจน 2 อะตอม ต่อหนึ่งโมเลกุล. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งในสารประกอบเคมีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และมักเรียกด้วยสูตรเคมี CO2 เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง มักจะเรียกว่า น้ำแข็งแห้ง (dry ice)
เป็นก๊าซที่มีปริมาณมากเป็นอันดับ 4 ในอากาศ รองจากไนโตรเจน ออกซิเจนและ อาร์กอน
คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น ภูเขาไฟระเบิด การหายใจของสิ่งมีชีวิต หรือการเผาไหม้ของสารประกอบอินทรีย์ ก๊าซนี้เป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เพื่อใช้คาร์บอนและออกซิเจนในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ พืชจะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาสู่บรรยากาศ ทำให้สัตว์ได้ใช้ออกซิเจนนี้ในการหายใจ การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ของพืชนี้เป็นการลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซหนึ่งที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก

คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี


คาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ เนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน

คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O=C=O) ไม่ติดไฟและไม่ทำปฏิกิริยา

คาร์บอนไดออกไซด์จะกลายเป็นของแข็งที่มีสีขาวอุณหภูมิ -78 องศาเซลเซียส โดยไม่ผ่านการเป็นของเหลวก่อน หากต้องการทำให้คาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเหลว ต้องใช้ความดันไม่น้อยกว่า 5.1 บรรยากาศ

คาร์บอนไดออกไซด์สามารถละลายน้ำได้ 1 เปอร์เซนต์ของสารละลายนั้นจะกลายเป็นกรดคาร์บอนิกซึ่งจะเปลี่ยนรูปเป็นไบคาร์บอเนตและคาร์บอเนตในภายหลัง

การทดสอบก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. นำธูปที่ติดไฟอยู่เข้าไปในหลอดทดลองที่มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ ไฟจะดับ เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ช่วยในการติดไฟของสาร จึงนำมาใช้เป็นก๊าซดับเพลิงได้

2. ผ่านก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปในน้ำปูนใส (แคลเซียมไฮดรอกไซด์) น้ำปูนใสจะขุ่น เนื่องจากเกิดแคลเซียมคาร์บอเนตขึ้น

  • การใช้


    คาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นของแข็งและของเหลวถูกใช้ในการแช่แข็ง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารขณะขนส่งไอศกรีมหรืออาหารแช่แข็ง นอกจากนี้ คาร์บอนไดออกไซด์แข็งที่เรียกกันว่าน้ำแข็งแห้ง ยังสามารถใช้เป็นห่อบรรจุเพื่อขนส่งได้เมื่ออุปกรณ์ในการแช่แข็งไม่พร้อมมากนัก

    คาร์บอนไดออกไซด์ยังใช้สำหรับการผลิตน้ำอัดลมหรือโซดา และยังมีผสมในเบียร์ได้ตามธรรมชาติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เบียร์บางยี่ห้อได้มีการใส่คาร์บอนไดออกไซด์โดยเจตนาด้วย

    หมายเหตุ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนติดธุระ แต่อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานสื่อวิทยาศาสตร์ลงบล็อก


    ของเล่นวิทยาศาสตร์ 

    คอปเตอร์จากไม้ไอศครีม
      วัสดุอุปกรณ์
    1. ไม้ไอศครีม
    2. หลอดชาไข่มุก
    3. ไม้เสียบลูกชิ้น
    4.เชือกเส้นเล็ก
    5. กาวยูฮู
    6. กรรไกร

    วิธีทำ
    1.  นำไม้ไอศครีมมาเจาะรูตรงกลาง
    2. นำไม้เสียบลูกชิ้นเสียบตรงกลางรูของไม้ไอศรีม ยึดให้แน่นด้วยกาวยูฮู รอให้แห้ง
    3. นำหลอดชาไข่มุกมาเจาะเป็นรูเล็กๆ สำหรับใส่เชือก
    4. นำหลอดชาไข่มุกอีก 1 อันมาตัดออกประมาณ 1 เซนติเมตร
    5. นำเชือกมามัดหลอด ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งมาผูกกับแกนของใบพัด (ใบเสียบลูกชิ้น)นำแกนใบพัดสอดเข้าไปในหลอด

    วิธีเล่น
    1. จับแกนใบพัด จากนั้นหมุนแกนใบพัดไปข้างซ้ายหรือขวาก็ได้ ถ้าสมมุติว่าเราหมุนใบพัดไปทางขวาก็หมุนไปทางขวาตลอด ไม่หมุนวนไปมาเพราะจะทำให้เชือกพันกัน
    2. เมื่อหมุนเชือกแล้วจับที่แกนใบพัด ดึงเชือกออก ใบพัดก็จะหมุน เมื่อใบพัดหยุดหมุนก็หมุนใบพัดเช่นเดิมเหมือนที่กล่าวไว้ขางต้น

    หลักการและเหตุผล
     การจับปลายเชือกด้านที่อิสระ แล้วหมุนใบพัดเชือกส่วนที่เหลือก็จะหมุนรอบแกนหมุน จากนั้นกระตุกหรือดึงปลายเชือก ให้ส่วนที่แกนหมุนเริ่มหมุนคลายเชือกที่พันไว้นั้น ด้วยความเฉื่อยของการหมุนดังกล่าว สามารถทำให้ใบพัดเคลื่อนที่หมุนออกจนสุดระยะเชือกที่พัน 




    ภาพการทดลอง

    วัสดุ/อุปกรณ์

    เจาะไม้ไอติมตรงกึ่งกลาง
     
    นำไม้มาเสียบตรงกลางไม้ไอติม
     
    ติดกาว

     
    ตัดหลอดชาไข่มุกสำหรับเป็นที่จับ

     
    นำด้ายมามัดใส่หลอดที่เราตัดไว้
     
    เจาะรูหลอดชาไขมุกรูเล็กๆ เพื่อนำด้ายมาสอดใส่
     
    นำด้ายมาสอดใส่
     
    มัดด้ายกับไม้ให้แน่น
     
    เอาไม้ใส่เข้าไปในหลอด

    หมุนไม้ไอติมไปด้านเดียวกัน เพื่อให้ด้ายพันกับแกนของไม้ที่อยู่ข้างใน








วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 5


Week 5
Wednesday10 July 2013

การเรียนการสอน  Teaching

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อวิทยาศาตร์เป็นรายบุคคล

ดิฉันนำเสนอสื่อวิทยาศาตร์ เรื่อง ลูกข่างหลากสี

วัสดุอุปกรณ์

     1. กระดาษ A4

     2.แผ่นซีดีที่ไม่ใช้

     3.สีไม้หรือสีเมจิก

     4.ดินน้ำมัน

     5.กาว

     6.กรรไกร

วิธีการทำ

     1. ให้เด็กๆทำ ลูกข่างโดยใช้แผ่น ซีดีเป็นแบบวาดวงกลมลงบนกระดาษและตัดออกมา
     2. ให้เด็กๆช่วยกันระบายสีลงบนกระดาษวงกลม
     3. ระบายสีตกแต่งลูกข่างกระดาษด้วยสีเพียงสองสี เช่น สีเขียวและสีแดง ถ้าระบายสีลูกข่างด้วยสีหนึ่ง
มากกว่าอีกสีหนึ่ง เมี่อลูกข่างหมุนจะเกิดการผสมสีสวยงาม
     4. ใช้กาวติดแผ่นซีดีกับแผ่นกระดาษวงกลมที่ระบายสีแล้วเจาะรูบนกระดาษให้ตรงกับตำแหน่งของรู
บนแผ่นซีดีลงบนพื้น
     5.ยึดให้แน่นด้วยดินน้ำมันเพื่อเป็นฐานในนการหมุน
     6. ให้เด็กๆ หมุนลูกข่างแผ่นซีดีบนพื้น


เด็กเรียนรู้อะไร
     เชื่อมโยงวิทยาศาตร์  เด็กได้เรียนรู้เรื่องความเฉื่อย (การตอบสนองในการรับภาพของดวงตา)

สรุปแนวคิด

     ตาของเรามองเห็นสีต่างๆ เนื่องจากเซลล์รับสีในตาของเราไวต่อสี 3 สีหลัก ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงินและสีเขียว ถ้ามีหลากหลายสีเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร้ว ตาของเราจะไม่สามารถแยกแยะสีต่างๆได้ทัน จึงเห็นสีต่างๆผสมเป็นสีเดียวกัน  เด็กได้เรียนรู้เรื่องความเฉื่อย (การตอบสนองในการรับภาพ) ของดวงตาจากลูกข่างที่กำลังหมุนด้วยความเร็วต่างๆและตำแหน่งที่เราสังเกตตาของเราไม่สามารถสังเกตลายบนลูกข่างที่กำลังหมุนได้ เนื่องจากการเปลี่ยนภาพและสีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจึง
เห็นสีบนลูกข่างเป็นสีผสม

การนำเสนอผลงาน



การนำเสนอผลงาน
      
วัสดุ/อุปกรณ์
วาดรูปวงกลมโดยใช้แบบจากแผ่นซีดี

ระบายสีให้สวยงาม
ตัดกระดาษตามแบบ
ติดกาวสองหน้าให้ทั่วกระดาษ
นำไปติดกับแผ่นซีดี





วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สัปดาห์ที่ 4


Week  4
 Wednesday 3 July 2013
การเรียนการสอน Teaching


อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 2 แผ่น ให้พับกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมโดยแต่ละแผ่นให้พับแผ่นละ 8 ช่อง เสร็จแล้วให้ตัดพร้อมเย็บมุม ให้นักศึกษาวาดภาพอะไรก็ได้ตามที่เราชอบในแต่ละแผ่น โดยเพิ่มองค์ประกอบของภาพขึ้นจนหมดแผ่นสุดท้าย

อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
     น้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกาย สิ่งต่างๆบนโลกมีน้ำเป็นส่วนประกอบ ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70% ผลไม้จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 90% คนเราจะขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ทะเลทรายจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่น อูฐ หลังอูฐมีไขมันไขมันเปลี่ยนเป็นน้ำไปหล่อเลี้ยงร่างกาย น้ำในร่างกายจะช่วยปรับสมดุล อูฐขาดน้ำได้ 10 วัน 
น้ำมี 3 สถานะ
      1. ของแข็ง น้ำแข็ง
      2. ของเหลว น้ำที่เราดื่มและใช้อาบทุกวัน
      3. ก๊าซ ไอน้ำ
ฝน คือ ไอน้ำที่ละเหยลงมาจากท้องฟ้า
น้ำขยายตัวเมื่อเปลี่ยนสถานะ สะสารทุกชนิดในโลกนี้มีโมเลกุลเป็นส่วนประกอบ
น้ำจะมีโมเลกุลมากกว่าน้ำแข็ง
เมื่อน้ำกลายตัวเป็นน้ำแข็งจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 12%
น้ำเกลือจะมีความหนาแน่นกว่าน้ำเปล่า
น้ำ เป็นส่วนประกอบของร่างกาย อากาศมีความเกี่ยวข้องกับร่างกายเพราะเนื่องจากอากาศร้อนมากทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมากดังนั้นเราควรดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้วต่อวัน
สิ่งมีชีวิตต่า ๆ ในโลกมีส่วนประกอบของน้ำหรือไม่
วิธีการทดลอง
     1.หาผลไม้พืชผักต่าง ๆ เช่น แอปเปิ้ล แครอท
     2.นำมีดมาหันผลไม้เป้นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใช้เครื่องบดให้ละเอียด
     3.แล้วลองบีบดูจะเห็นว่าน้ำออกมาจากผลไม้
     จะเห็นได้ว่า น้ำจะมีส่วนประกอบในสิ่งมีชีวิต ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ 70 % ผักและผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90 % ดังนั้นถ้าคนขาดน้ำจะทำให้รางกายอ่อนเพลีย
ฝนตกจะเกิดจากอะไร
น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว จากของเหลวกลายเป็นไอ จากไอกลายเป็นของเหลว ดังนี้
วัฏจักรของน้ำ