วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week  12
Wednesday  28 August  2013

ศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ 

1. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
           ช่วงอายุ
อายุต่ำกว่า 3 ปี และ ช่วงอายุ 3 - 5 ปี

ระยะเวลาเรียน
ขึ้นอยู่กับอายุเด็กที่เริ่มเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูและรับการศึกษา
 2. โครงสร้างเวลาเรียน

ช่วงชั้นอายุ
ชั้นบริบาล 1 อายุ 2 – 3 ปี
ชั้นบริบาล 2 อาย 3 – 4 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุ 4 – 5 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5 – 6 ปี

3. กิจกรรมเสริมหลักสูตร
โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังนี้

คอมพิวเตอร์

                 สอนเสริมโดยครูที่มี ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะนักเรียนได้เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ และสร้างสรรค์ผลงานโดยการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของ โรงเรียน

ดนตรี

                สอนเสริมโดยครูสอนดนตรี จากบริษัทซีเอ็มจีกรุ๊ป เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนกล้าแสดงออก มีสุนทรียภาพทางอารมณ์ตามลักษณะที่พึงประสงค์  ตลอดจนเห็นคุณค่าของการเล่นดนตรี

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาคฤดูร้อน (Summer camp)
                เป็นกิจกรรมเสริมวิชาการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมนันทนาการที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เป็นเวลา  ๔  สัปดาห์
แนวการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอนจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ผ่านการทำโครงการเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเด็กจะค่อยๆซึมซับการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้เหมาะสมตามวัย




ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

ศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตนครราชสีมา

การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนลำปลายมาศ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน ( Problem-Based Learning : PBL)
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ PBL คือ วิธีการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าศึกษาความรู้ด้วยวิธี การต่างๆจากแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีการศึกษาหรือเตรียมตัว ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวมาก่อน
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ วิธีการที่นักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเรียนรู้โดยใช้ประเด็น สำคัญในกรณีปัญหาที่เป็นจริงหรือกำหนดขึ้น เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองโดยการสืบ ค้นข้อมูลหาความรู้หรือทักษะต่างๆแล้วนำความรู้ที่ค้นหามาเล่าสู่กันฟังพร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายร่วม กันเรียนรู้แล้วลงสรุปความรู้ใหม่
กลไกพื้นฐานในการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
ในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ การให้ผู้ 
เรียนได้ผ่านการเรียนรู้ต่างๆอย่างครบถ้วน 3 ประการ คือ 
1. Problem-based Leaning คือ ขบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ “ปัญหา” เป็นหลัก ใน 
การแสวงหาความรู้ด้วยกลวิธีหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานอันเป็นการแก้ปัญหานั้น โดยผู้เรียนจะ 
ต้องนำปัญหาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ความคิดที่มีเหตุผล และมีการแสวงหาความรู้ใหม่ขบวนการ 
เรียนรู้แบบ Problem-based สามารถเกิดขึ้นได้กับการเรียนรายบุคคล หรือการเรียนกลุ่มย่อยได้ แต่การเรียนแบบกลุ่มย่อยจะช่วยให้รวบรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาได้กว้างขวางมากกว่า 
2. Self-directed Learning คือ ขบวนการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการใช้ความรู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการกำหนดการดำเนินงานของตนเอง และการประเมินผลของตนเอง ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์งานของตนเองด้วย 
3. Small-group Learning คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนได้ พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม และยอมรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกันค้นคว้าหาแนวความคิดใหม่ๆ

กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมี 7 
ขั้นตอน ดังนี้ 
ขั้นตอนที่ 1 
กลุ่มผู้เรียนทำความเข้าใจคำศัพท์ ข้อความที่ปรากฏอยู่ในปัญหาให้ชัดเจน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราหรือสื่ออื่นๆ 
ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผู้เรียนระบุปัญหาหรือข้อมูลสำคัญร่วมกัน โดยทุกคนในกลุ่มเข้าใจปัญหา เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดที่กล่าวถึงในปัญหานั้น 
ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มผู้เรียนระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาต่างๆอธิบายความเชื่อมโยงต่างๆของข้อมูลหรือปัญหา 
ขั้นตอนที่ 4 กลุ่มผู้เรียนกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน พยายามหาเหตุผลที่จะอธิบายปัญหาหรือข้อมูลที่พบ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน การแสดงความคิด 
อย่างมีเหตุผล ตั้งสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลสำหรับปัญหานั้น 
ขั้นตอนที่ 5 กลุ่มผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อค้นหาข้อมูลหรือความรู้ที่จะอธิบายหรือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดต้อง 
กลับไปทบทวน ส่วนใดยังไม่รู้หรือจำเป็นต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติม 
ขั้นตอนที่ 6 ผู้เรียนค้นคว้ารวบรวมสารสนเทศจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
ขั้นตอนที่ 7 จากรายงานข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้มา กลุ่มผู้เรียนนำมาอภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แล้วนำมาสรุปเป็นหลักการและประเมินผลการเรียนรู้ 

บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
1. ใช้คำถามนำและคำถามปลายเปิด 
2. ช่วยผู้เรียนสะท้อนประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีอยู่ 
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ 
4. เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน และให้การอภิปรายอยู่ในกรอบที่กำลังศึกษา 
5. ตั้งประเด็นที่จำเป็นในการพิจารณาและอภิปรายร่วมกัน 
6. ให้แนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนกระบวนการเรียนอย่างระมัดระวัง 
7. กระตุ้นและให้การสนับสนุนผู้เรียน 
8. จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย ให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความพอใจและไม่กลัวต่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น

ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบัน 
2. เสริมสร้างความสามารถในการใช้ทรัพยากรของผู้เรียนได้ดีขึ้น 
3. ส่งเสริมการสะสมการเรียนรู้ และการคงรักษาข้อมูลใหม่ไว้ได้ดีขึ้น 
4. เมื่อใช้ในการแก้ปัญหาของสหสาขาวิชา ทำให้สนับสนุนความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน 
5. ช่วยให้เกิดการตัดสินใจแบบองค์รวมหรือแบบสหสาขาวิชาสำหรับปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 


นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week 11
Wednesday 21 August 2013
การเรียนการสอน  Teaching
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ จึงให้นักศึกษาทำงานแล้วสรุปลงใน Blog โดยให้นักศึกษานำใบไม้แห้งมาทำเป็นว่าวใบไม้ โดยว่าวสามารถลอยขึ้นได้พร้อมถ่ายภาพลง Blog





อุปกรณ์และขั้นตอนการทำว่าวใบไม้


 ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (ทำเพิ่มเติ่ม)

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week 10
Wednesday 14 August  2013
การเรียนการสอน Teaching
อาจารย์ตรวจดู Blogger ของนักศึกษา พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสรุปงานลงในบล็อก การแก้ไข ปรับปรุงบล็อกให้น่าสนใจมากขึ้น
อาจารย์พูดเกี่ยวกับเรื่องการไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยให้นักศึกษาดำเนินงานแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบเป็นฝ่ายต่างๆดังนี้


การแบ่งหน้าที่ในการศึกษาดูงาน

สรุปองค์ความรู้ 
Summary of knowledge
การไปศึกษาดูงานนั้นนักศึกษาต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี ในการศึกษาข้อมูลของแต่ละโรงเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลด้านการเรียนการสอนหรือการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ สิ่งที่สำคัญในการที่ไปศึกษาดูงานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาต้องวางแผนร่วมกันว่าใครจะทำอะไรบ้างและแต่ละคนต้องมีหน้าที่คอยประสานงานด้านต่างๆเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการไปศึกษาดูงาน และสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับและประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Tuesday 13 August 2013 13.00-16.30 น.
อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมอบรม โครงการ "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต"
 ณ ห้องประชุมจันทร์ประภัสส์ ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี
บรรยายพิเศษเรื่อง "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต" โดยคุณมีชัย วีระไวทยะ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ



สรุปองค์ความรู้  Summary of knowledge

นวัตกรรมและความคิดนอกกรอบช่วยสร้างให้เด็กเป็นผู้นำโดยม่ปล่อยให้เป็นผู้ตาม ให้เป็นคนซื่อสัตย์ มีวินัย รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการแบ่งปัน มีความคิดริเริ่ม และสามารถแสวงหาคำตอบ มีความรู้ในด้านการจัดการ การทำธุรกิจที่สามารถพึ่งตนเองได้ รวมทั้งลดปัญหาความยากจนของครอบครัว โดยเด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตร ปลูกพืชผักเพื่อขายเป็นรายได้ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ให้แก่ครอบครัวและชุมชนที่อาศัยอยู่ ช่วยให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีรายได้เพิ่มมากขึ้น  รู้จักเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น รวมทั้งส่งเสิมให้โรงเรียนเป็นแหล่งรู้ตลอดชีวิต และเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาของทุกคนในชุมชน

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week 9
Wednesday  7  August   2013
การเรียนการสอน  Teaching
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ให้นักศึกษาเข้ารวมโครงการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (ภาคปกติ) กิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม กิจกรรม "กายงามใจดี ศรีปฐมวัย"
มีภาพมาฝากด้วยค่ะ
 อาจารย์ณุตรากล่าวเปิดงาน
การแสดงเปิดงาน (เซิ้งกระติ๊บ)
การแสดงเปิดงาน (ระบำศรีวิชัย)

การสาธิตเกี่ยวกับมารยาทไทย (การไหว้)


สรุปความรู้ที่ได้
มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย



จากนั้นอาจารย์นัดให้นักศึกษาทุกคนมาฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับการไปศึกษาดูงานที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 27-28 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยให้นักศึกษาศึกษาประวัติเกี่ยวกับโรงเรียนที่จะไป แบ่งหน้าที่ในการทำงาน ร่วมกันรับผิดชอบในด้านต่างๆ
สรุปองค์ความรู้ 
Summary of knowledge
การรู้จักประพฤติปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทย การมีกิริยามารยาทงามอย่างไทย การมีสัมมาคารวะในการเป็นนักศึกษา รู้จักการวางตัวที่เหมาะสม