วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Week  12
Wednesday  28 August  2013

ศึกษาดูงานนอกสถานที่ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ 

1. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
           ช่วงอายุ
อายุต่ำกว่า 3 ปี และ ช่วงอายุ 3 - 5 ปี

ระยะเวลาเรียน
ขึ้นอยู่กับอายุเด็กที่เริ่มเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูและรับการศึกษา
 2. โครงสร้างเวลาเรียน

ช่วงชั้นอายุ
ชั้นบริบาล 1 อายุ 2 – 3 ปี
ชั้นบริบาล 2 อาย 3 – 4 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุ 4 – 5 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุ 5 – 6 ปี

3. กิจกรรมเสริมหลักสูตร
โรงเรียนมีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ดังนี้

คอมพิวเตอร์

                 สอนเสริมโดยครูที่มี ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะนักเรียนได้เรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์ และสร้างสรรค์ผลงานโดยการฝึกปฏิบัติจริงในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของ โรงเรียน

ดนตรี

                สอนเสริมโดยครูสอนดนตรี จากบริษัทซีเอ็มจีกรุ๊ป เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนกล้าแสดงออก มีสุนทรียภาพทางอารมณ์ตามลักษณะที่พึงประสงค์  ตลอดจนเห็นคุณค่าของการเล่นดนตรี

กิจกรรมเสริมประสบการณ์ภาคฤดูร้อน (Summer camp)
                เป็นกิจกรรมเสริมวิชาการตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมนันทนาการที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เป็นเวลา  ๔  สัปดาห์
แนวการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูผู้สอนจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ผ่านการทำโครงการเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเด็กจะค่อยๆซึมซับการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปใช้ได้เหมาะสมตามวัย




ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนสาธิตมหาวิยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

ศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตนครราชสีมา

การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนลำปลายมาศ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน ( Problem-Based Learning : PBL)
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ PBL คือ วิธีการเรียนรู้ที่เริ่มต้นด้วยการใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าศึกษาความรู้ด้วยวิธี การต่างๆจากแหล่งวิทยาการที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีการศึกษาหรือเตรียมตัว ล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวมาก่อน
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ วิธีการที่นักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเรียนรู้โดยใช้ประเด็น สำคัญในกรณีปัญหาที่เป็นจริงหรือกำหนดขึ้น เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองโดยการสืบ ค้นข้อมูลหาความรู้หรือทักษะต่างๆแล้วนำความรู้ที่ค้นหามาเล่าสู่กันฟังพร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายร่วม กันเรียนรู้แล้วลงสรุปความรู้ใหม่
กลไกพื้นฐานในการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
ในการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักนั้นสิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึง ก็คือ การให้ผู้ 
เรียนได้ผ่านการเรียนรู้ต่างๆอย่างครบถ้วน 3 ประการ คือ 
1. Problem-based Leaning คือ ขบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ “ปัญหา” เป็นหลัก ใน 
การแสวงหาความรู้ด้วยกลวิธีหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานอันเป็นการแก้ปัญหานั้น โดยผู้เรียนจะ 
ต้องนำปัญหาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ความคิดที่มีเหตุผล และมีการแสวงหาความรู้ใหม่ขบวนการ 
เรียนรู้แบบ Problem-based สามารถเกิดขึ้นได้กับการเรียนรายบุคคล หรือการเรียนกลุ่มย่อยได้ แต่การเรียนแบบกลุ่มย่อยจะช่วยให้รวบรวมแนวคิดในการแก้ปัญหาได้กว้างขวางมากกว่า 
2. Self-directed Learning คือ ขบวนการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการใช้ความรู้ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการกำหนดการดำเนินงานของตนเอง และการประเมินผลของตนเอง ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์งานของตนเองด้วย 
3. Small-group Learning คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนได้ พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม และยอมรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกันค้นคว้าหาแนวความคิดใหม่ๆ

กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานมี 7 
ขั้นตอน ดังนี้ 
ขั้นตอนที่ 1 
กลุ่มผู้เรียนทำความเข้าใจคำศัพท์ ข้อความที่ปรากฏอยู่ในปัญหาให้ชัดเจน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราหรือสื่ออื่นๆ 
ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผู้เรียนระบุปัญหาหรือข้อมูลสำคัญร่วมกัน โดยทุกคนในกลุ่มเข้าใจปัญหา เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดที่กล่าวถึงในปัญหานั้น 
ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มผู้เรียนระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาต่างๆอธิบายความเชื่อมโยงต่างๆของข้อมูลหรือปัญหา 
ขั้นตอนที่ 4 กลุ่มผู้เรียนกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน พยายามหาเหตุผลที่จะอธิบายปัญหาหรือข้อมูลที่พบ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน การแสดงความคิด 
อย่างมีเหตุผล ตั้งสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลสำหรับปัญหานั้น 
ขั้นตอนที่ 5 กลุ่มผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อค้นหาข้อมูลหรือความรู้ที่จะอธิบายหรือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดต้อง 
กลับไปทบทวน ส่วนใดยังไม่รู้หรือจำเป็นต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติม 
ขั้นตอนที่ 6 ผู้เรียนค้นคว้ารวบรวมสารสนเทศจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
ขั้นตอนที่ 7 จากรายงานข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้มา กลุ่มผู้เรียนนำมาอภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แล้วนำมาสรุปเป็นหลักการและประเมินผลการเรียนรู้ 

บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
1. ใช้คำถามนำและคำถามปลายเปิด 
2. ช่วยผู้เรียนสะท้อนประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีอยู่ 
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ 
4. เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน และให้การอภิปรายอยู่ในกรอบที่กำลังศึกษา 
5. ตั้งประเด็นที่จำเป็นในการพิจารณาและอภิปรายร่วมกัน 
6. ให้แนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนกระบวนการเรียนอย่างระมัดระวัง 
7. กระตุ้นและให้การสนับสนุนผู้เรียน 
8. จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย ให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความพอใจและไม่กลัวต่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น

ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน
1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องข้อมูลข่าวสารในโลกปัจจุบัน 
2. เสริมสร้างความสามารถในการใช้ทรัพยากรของผู้เรียนได้ดีขึ้น 
3. ส่งเสริมการสะสมการเรียนรู้ และการคงรักษาข้อมูลใหม่ไว้ได้ดีขึ้น 
4. เมื่อใช้ในการแก้ปัญหาของสหสาขาวิชา ทำให้สนับสนุนความร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน 
5. ช่วยให้เกิดการตัดสินใจแบบองค์รวมหรือแบบสหสาขาวิชาสำหรับปัญหาสุขภาพที่สำคัญ 


นวัตกรรมการศึกษาโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น